ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 143อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 144อ่านอรรถกถา 23 / 145อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑
๔. ทีฆชาณุสูตร

               อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔               
               ทีฆชาณุสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า พฺยคฺฆปชฺช นี้เป็นคำร้องเรียกโกลิยบุตรชื่อทีฆชาณุนั้น ด้วยอำนาจประเพณีตั้งชื่อ.
               จริงอยู่ บรรพบุรุษของโกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุนั้นเกิดในทางเสือผ่าน เพราะฉะนั้น คนในตระกูลนั้น เขาจึงเรียกกันว่า พยัคฆปัชชะ.
               บทว่า อิสฺสตฺเถน แปลว่า ด้วยงานของนักรบแม่นธนู.
               บทว่า ตตฺรุปายาย ความว่า อันเป็นอุบายในการงานนั้น เพราะรู้ว่า เวลานี้ควรทำสิ่งนี้.
               บทว่า วุฑฺฒสีลิโน แปลว่า ผู้มีศีลอันสมบูรณ์ ผู้มีสมาจารอันหมดจด.
               บทว่า อายํ แปลว่า การมา.
               บทว่า นาจฺโจคาฬฺหํ แปลว่า ไม่เบียดกรอนัก.
               บทว่า ปริยาทาย ได้แก่ รับมาแล้วใช้จ่ายไป ในข้อนั้น ผู้ใดมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่ารายจ่ายเป็น ๒ เท่า รายจ่ายของผู้นั้นไม่สามารถที่จะทำรายได้ให้หมดไป.
               (สมดังที่ตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรว่า)
                         จตุธา วิภเช โภเค         ปณฺฑิโต ฆรมาวสํ
                         เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย    ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย
                         จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย      อาปทาสุ ภวิสฺสติ
                         บัณฑิตบุคคลผู้ครองเรือน พึงแบ่งโภคทรัพย์ออก
                         เป็น ๔ ส่วน คือส่วนหนึ่งใช้สอย สองส่วนประกอบ
                         การงาน ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ในเมื่อมีอันตราย.

               ก็เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ รายจ่ายย่อมไม่อาจจะเหนือรายได้ไปได้เลย.
               บทว่า อุทุมฺพรขาทิกํ ความว่า เมื่อบุคคลประสงค์จะกินผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อที่มีผลสุก ผลเป็นอันมากหล่นลงมาด้วยการเขย่าคราวเดียวเท่านั้น เขากินผลที่ควรจะกิน ทิ้งผลเป็นอันมากนอกนี้ไปเสียฉันใด บุคคลใดสุรุ่ยสุร่ายกระทำรายจ่ายให้มากกว่ารายได้ บริโภคโภคะ บุคคลนั้นเขาเรียกว่า กินทิ้งกินขว้าง เหมือนกุลบุตรผู้กินผลมะเดื่อคนนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
               บทว่า อทฺธมาริกํ แปลว่า ตายน่าอนาถ.
               บทว่า สมชีวิกํ กปฺเปติ แปลว่า เลี้ยงชีพอย่างพอดี.
               บทว่า สมชีวิตา ความว่า เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่อันพอดี.
               บทว่า อปายมุขานิ ได้แก่ ฐานที่ตั้งแห่งความพินาศ.
               บทว่า อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยความขยันหมั่นเพียร ในฐานะที่กระทำการงาน.
               บทว่า วิธานวา แปลว่า ผู้จัดงานเป็น.
               บทว่า โสตฺถานํ สมฺปรายิกํ ได้แก่ ความสวัสดีอันเป็นไปในภายภาคหน้า.
               บทว่า สจฺจนาเมน ความว่า โดยพระนามที่แท้จริงอย่างนี้ว่า เป็นพุทธะ เพราะตรัสรู้นั่นเอง.
               บทว่า จาโค ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ ความว่า จาคะและบุญที่เหลือย่อมเจริญ.
               ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธาเป็นต้นคละกัน.

               จบอรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑ ๔. ทีฆชาณุสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 143อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 144อ่านอรรถกถา 23 / 145อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5934&Z=6025
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5970
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5970
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :