ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 78อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 79อ่านอรรถกถา 22 / 80อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓
๙. อนาคตสูตรที่ ๓

               อรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในตติยอนาคตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมี เพราะเสียธรรม.
               ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่าเสีย อย่างไร.
               ตอบว่า เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย ๕ อย่างก็ไม่มี. เมื่อธรรมเสียอย่างนี้ วินัยก็ชื่อว่าเสีย. ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวรวินัยไม่มี เมื่อสังวรวินัยนั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนาก็ไม่ตั้งท้อง. การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัย ก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.
               บทว่า อภิธมฺมกถํ ได้แก่ กถาว่าด้วยธรรมสูงสุด มีศีลเป็นต้น.
               บทว่า เวทลฺลกถํ ได้แก่ กถาเจือด้วยญาณที่ประกอบด้วยความรู้.
               บทว่า กณฺหํ ธมฺมํ โอกฺกมมานา ได้แก่ ก้าวลงสู่กรรมฝ่ายดำ โดยการแสวงหาด้วยการแข่งดี เพราะแส่หาความผิดเขา.
               อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกระทบบุคคลด้วยจิตคิดร้ายก็ดี สร้างกรรมฝ่ายดำนั้น สำหรับตนก็ดี กล่าวเพื่อลาภสักการะก็ดี ชื่อว่าก้าวลงสู่ธรรมฝ่ายดำเหมือนกัน.
               บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี.
               บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ.
               บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงโลกุตรธรรม.
               บทว่า สุญฺญตาปฏิสํยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะและปัจจยาการ.
               บทว่า น อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปสฺสนฺติ แปลว่า จักไม่ตั้งจิตไว้เพื่อรู้.
               บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ ได้แก่ พึงศึกษา พึงเล่าเรียน.
               บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่งโดยผูกเป็นโศลกเป็นต้น.
               บทว่า กาเวยฺยา เป็นไวพจน์ของคำว่า กวิกตา นั้นนั่นแหละ.
               บทว่า พาหิรกา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา.
               บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่สาวกภายนอก [พระศาสนา] กล่าวไว้.
               คำที่เหลือในสูตรนี้มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะรู้ได้ง่าย.

               จบอรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓ ๙. อนาคตสูตรที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 78อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 79อ่านอรรถกถา 22 / 80อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2397&Z=2459
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=901
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=901
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :