ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 74อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 75อ่านอรรถกถา 22 / 76อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓
๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า โยธาชีวา ได้แก่ ผู้อาศัยการรบเลี้ยงชีพ [ทหารอาชีพ].
               บทว่า รชคฺคํ ได้แก่ กลุ่มละอองที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดินที่แตกกระจาย เพราะการเหยียบย่ำด้วยเท้าของช้างม้าเป็นต้น.
               บทว่า น สนฺถมฺภติ ได้แก่ ยืนปักหลักอยู่ไม่ได้.
               บทว่า สหติ รชคฺคํ ได้แก่ แม้เห็นกลุ่มละอองก็อดกลั้น.
               บทว่า ธชคฺคํ ได้แก่ ยอดธงที่เขายกขึ้นบนหลังช้างม้าเป็นต้น และบนรถทั้งหลาย.
               บทว่า อุสฺสาทนํ ได้แก่ เสียงกึกก้องอื้ออึงของช้าง ม้า รถและของหมู่ทหาร.
               บทว่า สมฺปหาเร ได้แก่ การประหัตประหารแม้ขนาดเล็กน้อยที่มาถึงเข้า.
               บทว่า หญฺญติ ได้แก่ เดือดร้อน คับแค้นใจ.
               บทว่า พฺยาปชฺชติ ได้แก่ ถึงวิบัติ ละปกติภาพไป.
               บทว่า สหติ สมฺปหารํ ได้แก่ แม้ประสบการประหาร ๒-๓ ครั้งก็ทน ก็อดกลั้นได้.
               บทว่า ตเมว สงฺคามสีสํ ได้แก่ สถานที่ตั้งค่ายชัยภูมิ [สนามรบ] นั้นนั่นแหละ.
               บทว่า อชฺฌาวสติ ได้แก่ ครอบครองอยู่ประมาณ ๗ วัน [สัปดาห์].
               ถามว่า เพราะเหตุไร.
               ตอบว่า เพราะว่า เพื่ออุปการะบำรุงผู้ต้องอาวุธบาดเจ็บ เพื่อรู้ความชอบแห่งหน้าที่ปฏิบัติมาแล้ว จะได้ปูนบำเหน็จตำแหน่ง และเพื่อเสวยสุขในความเป็นใหญ่ [ได้ชัยชนะ].
               เพราะเหตุที่พระศาสดาไม่ทรงมีกิจหน้าที่ ด้วยเหล่านักรบทั้งหลาย แต่ทรงนำข้ออุปมานี้มา เพื่อทรงแสดงบุคคล ๕ จำพวกเห็นปานนั้นในพระศาสนานี้ ฉะนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวเมว โข เป็นอาทิ.
               ในคำนั้น บทว่า สํสีทติ ได้แก่ ระทดระทวย เข้าไปในมิจฉาวิตก.
               บทว่า น สกฺโกติ พฺรหฺมจริยํ สนฺตาเนตุํ ได้แก่ คุ้มครองพรหมจริยวาส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ขาดสายไว้ไม่ได้.
               บทว่า สิกฺขาทุพฺพลฺยํ อาวิกตฺวา ได้แก่ ประกาศความถอยกำลังในสิกขา.
               ด้วยบทว่า กิมสฺส รชคฺคสฺมึ ตรัสว่า อะไรชื่อว่าปลายผงละอองของบุคคลนั้น.
               บทว่า อภิรูปา แปลว่า งดงาม. บทว่า ทสฺสนียา ได้แก่ ควรแก่การชม.
               บทว่า ปาสาทิกา ได้แก่ นำความแจ่มใสมาให้จิต โดยการเห็นเท่านั้น.
               บทว่า ปรมาย ได้แก่ สูงสุด.
               บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระ และด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะ.
               บทว่า โอสหติ แปลว่า ทน.
               บทว่า อุลฺลปติ แปลว่า กล่าว.
               บทว่า อุชฺชคฺฆติ ได้แก่ ปรบมือหัวเราะลั่น. บทว่า อุปผณฺเฑติ ได้แก่ เยาะเย้ย.
               บทว่า อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งชิดกัน หรือนั่งร่วมที่นั่งกัน.
               แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อชฺโฌตฺถรติ แปลว่า ทับ.
               บทว่า วินิเวเฐตฺวา วินิโมเจตฺวา ได้แก่ ปลดและปล่อยมือของหญิงนั้นจากที่ที่จับไว้.
               คำที่เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.
               พระสูตรนี้ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

               จบอรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓ ๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 74อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 75อ่านอรรถกถา 22 / 76อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2070&Z=2177
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=832
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=832
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :