ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 43อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 22 / 45อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มุณฑราชวรรคที่ ๕
๔. มนาปทายีสูตร

               อรรถกถามนาปทายีสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในมนาปทายีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อุคฺโค ได้แก่ ผู้ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณทั้งหลาย.
               บทว่า สาลปุปฺผกํ ขาทนียํ ได้แก่ ของเคี้ยวคล้ายดอกสาละ ทำด้วยแป้งข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิด.
               จริงอยู่ ของเคี้ยวชนิดหนึ่ง เขาแต่งให้มีสีกลีบและเกษรแล้ว ทอดในน้ำมันเนย ซึ่งปรุงด้วยเครื่องเทศมียี่หร่าเป็นต้น สุกแล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำมัน บรรจุภาชนะมีฝาอบกลิ่นไว้ให้หอม.
               อุคคคฤหบดีประสงค์จะถวายในระหว่างอาหาร จึงกราบทูลอย่างนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้ประทับนั่งดื่มข้าวยาคู.
               บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ภควา นั่นเป็นเพียงเทศนา.
               ก็อุบาสกได้ถวายขาทนียะนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายแม้มังสสุกรเป็นต้นก็เหมือนขาทนียะนั้น ฉะนั้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวรสุกรมํสํ ความว่า มังสสุกรที่ปรุงด้วยเครื่องเทศมียี่หร่าเป็นต้น กับพุทราที่มีรสดี ทำให้สุกแล้วเก็บไว้ปีหนึ่งจึงกิน.
               บทว่า นิพฺพฏฺฏเตลกํ คือ น้ำมันเดือดพล่านแล้ว.
               บทว่า นาฬิยาสากํ ได้แก่ ฝักนาฬิกะที่คลุกกับแป้งสาลี แล้วทอดน้ำมันเนย ปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิดแล้วอบเก็บไว้.
               ในบทว่า เนตํ ภควโต กปฺปติ นี้ ท่านหมายถึงของเป็นอกัปปิยะว่า แม้เป็นกัปปิยะก็ไม่ควร.
               เศรษฐีให้นำของนั้นแม้ทั้งหมดมาแล้วทำให้เป็นกอง สิ่งของใดๆ เป็นอกัปปิยะก็ส่งสิ่งของนั้นๆ ไปร้านตลาดแล้ว จึงถวายสิ่งของเครื่องอุปโภคและบริโภคที่เป็นกัปปิยะ แผ่นไม้จันทน์ไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ ๒ ศอกคืบ กว้างประมาณศอกคืบ แต่เป็นของมีราคามาก เพราะเป็นของมีสาระอย่างดี.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแผ่นไม้จันทน์นั้นแล้ว โปรดให้เกรียกเป็นชิ้นเล็กๆ ตรัสสั่งให้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อบดเป็นยาหยอดตา.
               บทว่า อุชุภูเตสุ ได้แก่ ในท่านผู้ปฏิบัติตรงด้วยกาย วาจา ใจ.
               บทว่า ฉนฺทสา ได้แก่ ความรัก.
               ในบทว่า จตฺตํ เป็นต้น ชื่อว่าสละแล้วด้วยอำนาจการบริจาค ชื่อว่าปล่อยแล้วด้วยสละปล่อยไปเลย. ชื่อว่าอนัคคหิตะ เพราะจิตไม่คิดจะเอาคืน เพราะมีจิตไม่เสียดาย.
               บทว่า เขตฺตูปเม คือ เสมือนนาเพราะเป็นที่งอกงาม.
               บทว่า อญฺญตรํ มโนมยํ ได้แก่ หมู่เทพที่บังเกิดด้วยใจที่อยู่ในฌานอย่างหนึ่ง ในชั้นสุทธาวาส.
               บทว่า ยถาธิปฺปาโย คือ ตามอัธยาศัย.
               ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามอะไร ด้วยบทนี้.
               ตอบว่า ได้ยินว่า ท่านมีอัธยาศัยหมายพระอรหัตครั้งเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่าเราจะถามข้อนั้น.
               แม้เทพบุตรได้กราบทูลว่า ตคฺฆ เม ภควา ยถาธิปฺปาโย ดังนี้ ก็เพราะท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว.
               บทว่า ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ ความว่า เขาย่อมเกิดในกุลสมบัติ ๓ หรือในสวรรค์ชั้นกามาพจร ๖ ชั้น ณ ภพใดๆ ก็เป็นผู้มีอายุยืนมียศ ณ ภพนั้นๆ.

               จบอรรถกถามนาปทายีสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มุณฑราชวรรคที่ ๕ ๔. มนาปทายีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 43อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 22 / 45อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=1110&Z=1169
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=562
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=562
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :