ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 286อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 287อ่านอรรถกถา 22 / 288อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สาราณิยาทิวรรคที่ ๒
๖. นกุลสูตร

               อรรถกถานกุลสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในนกุลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า พาฬฺหคิลาโน แปลว่า เป็นไข้หนักมาก.
               บทว่า เอตทโวจ ความว่า คหปตานีผู้เป็นนกุลมารดา เมื่อไม่สามารถจะจัดยาระงับพยาธิของสามีได้ บัดนี้ เมื่อจะระงับพยาธิ โดยการบันลือสีหนาท ทำสัจกิริยา จึงนั่งใกล้สามีแล้วกล่าวคำนี้มีอาทิว่า มา โข ตฺวํ (ท่านอย่ากังวลเลย) ดังนี้.
               บทว่า สาเปกฺโข ได้แก่ ยังมีตัณหา.
                อักษร ในบทว่า น นกุลมาตา นี้ ต้องประกอบเข้าโดยบทหลังอย่างนี้ว่า น เปกฺขติ.
               บทว่า สนฺถริตุํ ความว่า เพื่อกระทำให้ไม่มีช่อง. อธิบายว่า ปู (ให้เต็ม).
               บทว่า เวณึ โอลิขิตุํ ความว่า เพื่อเตรียมขนแกะ เอามาสางทำให้เป็นช้อง.
               บทว่า อญฺญํ ภตฺตารํ คมิสฺสติ ความว่า เราจักมีสามีใหม่อีก.
               บทว่า โสฬส วสฺสานิ คหฏฺฐพฺรหฺมจริยํ สมาจิณฺณํ ความว่า นับย้อนหลังจากนี้ไป ๑๖ ปี ดิฉันได้ประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์อย่างสม่ำเสมอ.
               บทว่า ทสฺสนกามตรา ความว่า อยากจะเฝ้า (พระพุทธเจ้า) โดยยิ่งๆ ขึ้นไป.
               นางได้บันลือสีหนาทโดยองค์ ๓ เหล่านี้แล้ว ได้ทำสัจกิริยาว่า ด้วยความสัตย์จริง ขอพยาธิในร่างกายของท่าน (จงเหือดหาย) กลายเป็นความสำราญ.
               บัดนี้ เพื่อจะอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสักขีพยาน ทำสัจกิริยา แม้โดยคุณมีศีลเป็นต้นของตน นางจึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา โข ปน เต ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปูรการินี ได้แก่ กระทำให้สมบูรณ์.
               บทว่า เจโตสมถสฺส ได้แก่ สมาธิกัมมัฏฐาน.
               บทว่า โอคาธปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงการหยั่งลง คือเข้าถึงเนืองๆ.
               บทว่า ปฏิคาธปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงการหยั่งลงเฉพาะ คือมั่นคง.
               บทว่า อสฺสาสปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงความปลอดโปร่ง คือเอาเป็นที่พึ่งได้.
               บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงโสมนัสญาณ.
               บทว่า อปรปฺปจฺจยา ความว่า ศรัทธาเนื่องด้วยผู้อื่น คือปฏิปทาที่ต้องอาศัยผู้อื่น ท่านเรียกว่า ปรปัจจยะ (มีผู้อื่นเป็นปัจจัย). อธิบายว่า เว้นจากการมีผู้อื่นเป็นปัจจัยนั้น.
               นางคฤหปตานีผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ ได้ทำสัจกิริยา ปรารภคุณความดีของตน ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้.
               บทว่า คิลานา วุฏฺฐิโต ความว่า เป็นไข้แล้วหาย.
               บทว่า ยาวตา ได้แก่ หมู่ของผู้บำเพ็ญเพียร.
               บทว่า ตาสํ อญฺญตรา ได้แก่ เป็นคนหนึ่งในระหว่างสาวิกาเหล่านั้น.
               บทว่า อนุกมฺปิกา ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล.
               บทว่า โอวาทิกา ได้แก่ ผู้ให้โอวาท.
               บทว่า อนุสาสิกา ได้แก่ ผู้ให้การพร่ำสอน.

               จบอรรถกถานกุลสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สาราณิยาทิวรรคที่ ๒ ๖. นกุลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 286อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 287อ่านอรรถกถา 22 / 288อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=7009&Z=7080
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2367
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2367
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :