ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 283อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 284อ่านอรรถกถา 22 / 285อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สาราณิยาทิวรรคที่ ๒
๓. เมตตาสูตร

               อรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า นิสฺสาราณียา ธาตุโย ได้แก่ ธาตุที่เป็นทางออกไป.
               ในบทว่า เมตฺตา หิ โข เม เจโตวิมุตฺติ นี้ มีอธิบายว่า เมตตานั่นแหละที่เป็นไปในฌานหมวด ๓ หรือหมวด ๔ ชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย.
               บทว่า ภาวิตา คือ ให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา คือ กระทำแล้วบ่อยๆ.
               บทว่า ยานีกตา คือ ทำให้เป็นเช่นกับยานที่เทียมแล้ว.
               บทว่า วตฺถุกตา คือ ทำให้เป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺฐิตา คือ ตั้งมั่นแล้ว.
               บทว่า ปริจิตา ความว่า ก่อตั้ง คือสั่งสม ได้แก่อบรมแล้วโดยชอบ.
               บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ปรารภด้วยดี โดยกระทำให้ช่ำชองคล่องแคล่วเป็นอย่างดี.
               บทว่า ปริยาทาย ติฏฺฐติ ได้แก่ ยึด คือถือไว้ ดำรงอยู่.
               บทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นพยากรณ์ข้อพยากรณ์ที่ไม่เป็นจริง ฉะนั้น เธอจึงถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้.
               บทว่า ยทิทํ เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ใด
               คำว่า เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เป็นทางออกไปแห่งพยาบาท. อธิบายว่า เป็นการสลัดพยาบาทออกไป.
               ก็ผู้ใดออกจากฌานหมวด ๓ หมวด ๔ ด้วยเมตตา (ภาวนา) แล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ รู้ว่าพยาบาทจะไม่มีอีกดังนี้ ย่อมเห็นพระนิพพานด้วยตติยผล จิตของผู้นั้นเป็นทางออกไปโดยส่วนเดียวแห่งพยาบาท.
               ในทุกๆ บท พึงทราบอธิบาย โดยอุบายนี้.
               บทว่า อนิมิตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ วิปัสสนาที่มีกำลัง.
               ส่วนอาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า ได้แก่สมาบัติที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล. อรหัตผลสมาบัตินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีเครื่องหมาย คือราคะเป็นต้น เครื่องหมายคือรูปเป็นต้น และเครื่องหมายว่าเที่ยงเป็นต้น.
               บทว่า นิมิตฺตานุสารี ได้แก่ มีการตามระลึกถึงนิมิต. มีประเภทดังกล่าวแล้ว เป็นสภาพ.
               บทว่า อสฺมิ ได้แก่ อัสมิมานะ.
               บทว่า อยมหมสฺมิ ความว่า เราชื่อว่าเป็นสิ่งนี้ (อัตตา) ในขันธ์ ๕. ด้วยคำเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอันพยากรณ์อรหัตผลแล้ว.
               บทว่า วิจิกิจฺฉากถํกถาสลฺลํ ได้แก่ ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.
               บทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่าวิจิกิจฉาที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า เกิดขึ้นแก่ท่านไซร้ การพยากรณ์อรหัตผลย่อมผิดพลาด เพราะฉะนั้น ท่านต้องถูกห้ามว่า อย่าพูดเรื่องไม่จริง.
               บทว่า อสฺมีติ มานสมุคฺฆาโต ได้แก่ อรหัตมรรค. อธิบายว่า เมื่อเห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคแล้ว อัสมิมานะย่อมไม่มีอีก เพราะฉะนั้น อรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ถอนขึ้นได้ซึ่งมานะว่าเรามี.
               ในพระสูตรนี้ ตรัสให้ชื่อว่า อภูตพยากรณ์ (พยากรณ์เรื่องไม่จริง) ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

               จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สาราณิยาทิวรรคที่ ๒ ๓. เมตตาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 283อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 284อ่านอรรถกถา 22 / 285อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=6886&Z=6940
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2326
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2326
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :