ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 212อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 213อ่านอรรถกถา 22 / 214อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ อักโกสกวรรคที่ ๒
๓. สีลสูตร

               อรรถกถาสีลสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ไม่มีศีล คือไร้ศีล.
               บทว่า สีลวิปนฺโน ได้แก่ มีศีลวิบัติ ขาดสังวรระวัง.
               บทว่า ปมาทาธิกรณํ ได้แก่ เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ.
               ก็สูตรนี้ ใช้สำหรับคฤหัสถ์. แม้บรรพชิตก็ใช้ได้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ คฤหัสถ์ย่อมเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยหลักศิลปะใดๆ ไม่ว่าทำนา หรือค้าขาย ถ้าประมาทโดยทำปาณาติบาตเป็นต้น ศิลปะนั้นๆ ก็ให้สำเร็จผลตามกาลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาก็ขาดทุน. และเมื่อทำปาณาติบาตและอทินนาทานเป็นต้น ในเวลาที่เขาไม่ทำกัน โทษก็ถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์เป็นอันมาก.
               บรรพชิตผู้ทุศีล ย่อมถึงความเสื่อมจากศีล พระพุทธพจน์ ฌาน และจากอริยทรัพย์ ๗ เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ.
               สำหรับคฤหัสถ์ชื่อเสียงที่เลว ย่อมฟุ้งไปท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า คฤหัสถ์คนโน้นเกิดในตระกูลโน้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม สลัดโลกนี้และโลกหน้าเสียแล้ว ไม่ให้ทานแม้แต่อาหารดังนี้. สำหรับบรรพชิตชื่อเสียงที่เสียก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า บรรพชิตรูปโน้นรักษาศีลก็ไม่ได้ เรียนพระพุทธพจน์ก็ไม่ได้ เลี้ยงชีพอยู่ด้วยเวชกรรมเป็นต้น เป็นผู้ประกอบด้วยความไม่เคารพ ๖ ดังนี้.
               บทว่า อวิสารโท ความว่า คฤหัสถ์ก่อน เขาคิดว่า คนบางคนจักรู้กรรมของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น คนทั้งหลายจักจับเรา หรือจักแสดงเราแก่ราชตระกูลดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่างหวาดกลัว เก้อเขิน คอตก คว่ำหน้า นั่งเอานิ้วหัวแม่มือเขี่ยดิน ไม่กล้าพูดในสถานที่ประชุมของคนมากๆ แน่แท้.
               ฝ่ายบรรพชิตคิดว่า ภิกษุประชุมกันมากๆ ภิกษุบางรูปจักรู้กรรมของเราแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกภิกษุจักห้ามทั้งอุโบสถ ทั้งปวารณาแก่เรา ให้เราเคลื่อนจากความเป็นสมณะแล้วจักคร่าออกไป ดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่างหวาดกลัว ไม่กล้าพูด.
               ส่วนบางรูปแม้ทุศีล ถูกทำลายแล้ว ก็ยังเที่ยวไป บรรพชิตรูปนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เก้อ หน้าด้านโดยอัธยาศัยทีเดียว.
               บทว่า สมฺมูฬโห กาลํ กโรติ ความว่า ก็การยึดถือทุศีลกรรม ประพฤติแล้ว ย่อมปรากฏแก่เธอผู้นอนบนเตียงมรณะ เธอลืมตาขึ้นเห็นโลกนี้ หลับตาก็เห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เธอ เธอเป็นดุจถูกหอก ๑๐๐ เล่มประหารที่ศีรษะ เขาส่งเสียงร้องมาว่า ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที ก็ตาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ.
               บทที่ ๕ ง่ายทั้งนั้น อานิสงสกถาพึงทราบโดยปริยาย ตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวมาแล้ว.

               จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ อักโกสกวรรคที่ ๒ ๓. สีลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 212อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 213อ่านอรรถกถา 22 / 214อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=5901&Z=5927
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1958
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1958
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :