ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 199อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 200อ่านอรรถกถา 22 / 201อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕
๑๐. นิสสารณียสูตร

               อรรถกถานิสสารณียสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในนิสสารณียสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า นิสฺสารณิยา ได้แก่ สลัดออกไป คือพรากออกได้.
               บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากตน.
               บทว่า กามํ มนสิกโรโต ได้แก่ ใส่ใจถึงกาม. อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้วส่งจิตมุ่งต่อกามเพื่อจะทดสอบ ดุจหยิบยาทดลองพิษ [ฤทธิ์ยา].
               บทว่า น ปกฺขนฺทติ คือ ไม่เข้าไป.
               บทว่า น ปสีทติ คือ ไม่ถึงความเลื่อมใส.
               บทว่า น สนฺติฏฺฐติ คือ ไม่ตั้งอยู่.
               บทว่า น วิมุจฺจติ คือ ไม่น้อมไป.
               เหมือนอย่างว่า ปีกไก่ก็ดี เอ็นกบก็ดีที่เขาใส่ลงไปในไฟ ย่อมหงิกงอ ม้วนไม่เหยียดฉันใด จิตก็หดหู่ไม่เหยียดออกฉันนั้น.
               ปฐมฌานในอสุภะชื่อว่าเนกขัมมะ ในบทนี้ว่า เนกฺขมฺมํ โข ปน ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นใส่ใจถึงเนกขัมมะนั้น จิตย่อมแล่นไป (ในเนกขัมมะ).
               บทว่า ตสฺส ตํ จิตฺตํ ได้แก่ จิตในอสุภฌานของภิกษุนั้น.
               บทว่า สุคตํ ได้แก่ ไปแล้วด้วยดี เพราะไปในโคจรคืออารมณ์.
               บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ อบรมแล้วด้วยดี เพราะไม่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม.
               บทว่า สุวุฏฺฐิตํ ได้แก่ ออกไปแล้วจากกาม.
               บทว่า สุวิมุตฺตํ ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดีจากกามทั้งหลาย.
               อาสวะทั้งหลาย ๔ ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่าอาสวะ มีกามเป็นปัจจัย. ความทุกข์ ชื่อว่าวิฆาตะ. ความเร่าร้อนเพราะกามราคะ ชื่อว่าปริฬาหะ.
               บทว่า น โส ตํ เวทนํ เวทยติ ความว่า ภิกษุนั้นมิได้เสวยเวทนาเกิดจากกามนั้น และเวทนาเกิดจากความทุกข์ และความเร่าร้อน.
               บทว่า อิทมกฺขาตํ กามานํ นิสฺสรณํ ความว่า อสุภฌานนี้ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่องไหลออกไปแห่งกามทั้งหลาย เพราะสลัดออกจากกาม.
               ก็ภิกษุใดทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายบรรลุตติยมรรค เห็นนิพพานด้วยอนาคามิผลแล้วก็รู้ว่า ชื่อกามทั้งหลายจะไม่มีอีกดังนี้ จิตของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นนิสสรณะ เครื่องไหลออกโดยส่วนเดียว.
               แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
               แต่ความต่างกันมีดังนี้ ในวาระที่ ๒ เมตตาฌานชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาท. ในวาระที่ ๓ กรุณาฌานชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิหิงสา. ในวาระที่ ๔ อรูปฌานชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย.
               อนึ่ง พึงประกอบอรหัตผลเข้าในบทนี้ว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณํ ดังนี้.
               ในวาระที่ ๕ บทว่า สกฺกายํ มนสิกโรโต ความว่า เมื่อภิกษุกำหนดสังขารล้วนเป็นอารมณ์แล้วบรรลุพระอรหัต เป็นสุกขวิปัสสกออกจากผลสมาบัติแล้วจึงส่งจิตมุ่งต่ออุปาทานขันธ์ ๕ เพื่อทดสอบ.
               บทว่า อิทมกฺขาตํ สกฺกายสฺส นิสฺสรณํ ความว่า จิตอันสัมปยุตด้วยอรหัตผลสมาบัติที่เกิดขึ้นว่า สักกายะจะไม่มีอีกต่อไปดังนี้ ของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคละด้วยผลดำรงอยู่นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งสักกายะ ดังนี้.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญคุณของพระขีณาสพผู้บรรลุสักกายนิสสรณนิโรธอย่างนี้ดำรงอยู่ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส กามนนฺทิปิ นานุเสติ ดังนี้.

               จบอรรถกถานิสสารณียสูตรที่ ๑๐               
               จบพราหมณวรรควรรรณนาที่ ๕               
               จบจตุตถปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. โสณสูตร
                         ๒. โทณสูตร
                         ๓. สังคารวสูตร
                         ๔. การณปาลีสูตร
                         ๕. ปิงคิยานีสูตร
                         ๖. สุปินสูตร
                         ๗. วัสสสูตร
                         ๘. วาจาสูตร
                         ๙. กุลสูตร
                         ๑๐. นิสสารณียสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ ๑๐. นิสสารณียสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 199อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 200อ่านอรรถกถา 22 / 201อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=5677&Z=5734
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1840
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1840
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :