ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 179อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 180อ่านอรรถกถา 22 / 181อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อุปาสกวรรคที่ ๓
๑๐. ภเวสิสูตร

               อรรถกถาภเวสิสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในภเวสิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า สีตํ ปาตฺวากาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จพระดำเนินไปตามทางใหญ่ ทรงแลดูป่าสาละนั้น ทรงดำริว่า ในที่นี้จะมีเหตุดีไรๆ เคยเกิดขึ้นแล้วหรือหนอ ก็ได้ทรงเห็นเหตุดีที่อุบาสกชื่อภเวสีได้ทำไว้แล้วในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ได้มีพระดำริต่อไปว่า เหตุดีนี้ปกปิดไม่ปรากฏแก่หมู่ภิกษุ เอาเถิดเราจะทำเหตุนั้นให้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุ จึงหลีกออกจากทาง ประทับยืน ณ ที่แห่งหนึ่ง ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ แสดงไรพระทนต์น้อยๆ.
               พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้ทรงพระสรวลเหมือนชาวมนุษย์ในโลกหัวเราะท้องคัดท้องแข็งว่าที่ไหนที่ไหนดังนี้. การทรงพระสรวลของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นเพียงอาการแย้มเท่านั้น.
               ชื่อว่าการแย้มนี้ ย่อมมีด้วยจิตสหรคตด้วยโสมนัส ๑๓ ดวง. ชาวโลกหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือจากอกุศล ๔ ดวง จากกามาวจรกุศล ๔ ดวง. พระเสกขะทั้งหลายนำจิตสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ ดวงออกจากกุศลแล้วหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง. พระขีณาสพแย้มด้วยจิต ๕ ดวง คือด้วยกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ ๔ ดวง ที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง.
               แม้ในจิตเหล่านั้น เมื่ออารมณ์มีกำลังปรากฏ พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมแย้มด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ ๒ ดวง. เมื่ออารมณ์ที่มีกำลังอ่อนปรากฏ พระขีณาสพย่อมแย้มด้วยจิต ๓ ดวง คือด้วยทุเหตุกจิต ๒ ดวง และด้วยอเหตุกจิต ๑ ดวง. แต่ในที่นี้ จิตสหรคตด้วยโสมนัส อันเป็นกิริยาอเหตุกะ และมโนวิญญาณธาตุ ทำการพระสรวลสักว่าอาการแย้มให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ก็การแย้มนั้นแม้เพียงเล็กน้อยอย่างนี้ก็ได้ปรากฏแก่พระเถระแล้ว.
               ถามว่า อย่างไร.
               ตอบว่า ในกาลเช่นนั้น เกลียวพระรัศมีประมาณเท่าลำตาลใหญ่ รุ่งโรจน์จากพระทาฐะ ๔ องค์ของพระตถาคตดุจสายฟ้าแลบจากหน้ามหาเมฆ ๔ ทิศผุดขึ้น กระทำประทักษิณรอบพระเศียร ๓ ครั้ง แล้วหายไปที่ไรพระทาฐะนั่นเอง. ด้วยสัญญาณนั้น ท่านพระอานนท์แม้ตามเสด็จไปข้างหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ย่อมรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.
               บทว่า อิทฺธํ แปลว่า สมบูรณ์.
               บทว่า ผีตํ ได้แก่ สมบูรณ์ยิ่งนัก ดุจดอกไม้บานสะพรั่งหมดทั้งแถว.
               บทว่า อากิณฺณมนุสฺสํ ได้แก่ เกลื่อนกลาดไปด้วยหมู่ชน.
               บทว่า สีเลสุ อปริปูริการี ได้แก่ ไม่ทำความเสมอกันในศีล ๕.
               บทว่า ปฏิเทสิตานิ ได้แก่ แสดงความเป็นอุบาสก.
               บทว่า สมาทปิตานิ ความว่า ให้ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย.
               บทว่า อิจฺเจตํ สมสมํ ได้แก่ เหตุนั้นเสมอกันด้วยความเสมอโดยอาการทั้งปวง มิได้เสมอโดยเอกเทศบางส่วน.
               บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อติเรกํ ได้แก่ เราไม่มีเหตุดีไรๆ ที่เกินหน้าคนเหล่านี้.
               บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน.
               บทว่า อติเรกาย ความว่า เราจะปฏิบัติเพื่อเหตุทีดียิ่งขึ้นไป.
               บทว่า สีเลสุ ปริปูรการึ ธาเรถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงรู้ว่าเราทำความเท่าเทียมกันในศีล ๕ แล้ว. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าภเวสีอุบาสกนั้น ชื่อว่า สมาทานศีล ๕ แล้ว.
               บทว่า กิมงฺคํ ปน น มยํ ความว่า ก็ด้วยเหตุไรเล่า เราจึงจักไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ได้.
               บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาภเวสิสูตรที่ ๑๐               
               จบอุปาสกวรรควรรณนาที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สารัชชสูตร
                         ๒. วิสารทสูตร
                         ๓. นิรยสูตร
                         ๔. เวรสูตร
                         ๕. จัณฑาลสูตร
                         ๖. ปีติสูตร
                         ๗. วณิชชสูตร
                         ๘. ราชสูตร
                         ๙. คิหิสูตร
                         ๑๐. ภเวสิสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อุปาสกวรรคที่ ๓ ๑๐. ภเวสิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 179อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 180อ่านอรรถกถา 22 / 181อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4995&Z=5102
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1544
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1544
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :