ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 169อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 170อ่านอรรถกถา 22 / 171อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อาฆาตวรรคที่ ๒
๑๐. ภัททชิสูตร

               อรรถกถาภัททชิสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในภัททชิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อภิภู ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่ คือเป็นใหญ่.
               บทว่า อนภิภูโต ได้แก่ อันคนอื่นครอบงำมิได้.
               บทว่า อญฺญทตฺถุ เป็นนิบาตใช้ในคำว่า ส่วนเดียว. อธิบายว่า เห็นด้วยทัสสนะย่อมเห็นทั้งหมด.
               บทว่า วสวตฺตี ได้แก่ ยังชนทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจ.
               บทว่า ยถา ปสฺสโต ได้แก่ เห็นอาการของอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมรณ์.
               บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับนั่นเอง.
               แม้ในบทว่า ยถา สุณโต นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปอันใดด้วยจักษุแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตในลำดับ ติดต่อกันนั่นแหละพระอรหัตของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่ามีในลำดับของจักขุวิญญาณ
               พระอานนทเถระหมายถึงพระอรหัตนั้น จึงกล่าวว่า นี้เป็นยอดแห่งการเห็น.
               แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า ยถา สุขิตสฺส ได้แก่ ถึงความสุขด้วยมรรคสุขใด.
               บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคสุขนั้นนั่นเอง.
               บทว่า อิทํ สุขานํ อคฺคํ ได้แก่ มรรคสุขนี้เป็นยอดแห่งความสุขทั้งหลาย.
               แม้ในบทว่า ยถา สญฺญิสฺส นี้ ท่านประสงค์เอามรรคสัญญานั่นเอง.
               บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ ตั้งอยู่แล้วในภพใด คือในอัตภาพใด.
               บทว่า อนนฺตรา ได้แก่ พระอรหัตเกิดขึ้นแล้วในลำดับนั่นเอง.
               บทว่า อิทํ ภวานํ อคฺคํ ได้แก่ อัตภาพสุดท้ายนี้ ชื่อว่าเป็นยอดของภพทั้งหลาย.
               อีกนัยหนึ่ง บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ เป็น คือมีอยู่ในขณะแห่งมรรคจิตด้วยขันธ์ทั้งหลายใด.
               บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ได้แก่ ผลย่อมเกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคนั่นเอง.
               บทว่า อิทํ ภวานํ อคฺคํ ได้แก่ ขันธบัญจกในขณะแห่งมรรคจิตนี้ ชื่อว่าเป็นยอดแห่งภพทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาภัททชิสูตรที่ ๑๐               
               จบอาฆาตวรรควรรณนาที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อาฆาตวินยสูตรที่ ๑
                         ๒. อาฆาตวินยสูตรที่ ๒
                         ๓. สากัจฉาสูตร
                         ๔. สาชีวสูตร
                         ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
                         ๖. นิโรธสูตร
                         ๗. โจทนาสูตร
                         ๘. สีลสูตร
                         ๙. นิสันติสูตร
                         ๑๐. ภัททชิสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อาฆาตวรรคที่ ๒ ๑๐. ภัททชิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 169อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 170อ่านอรรถกถา 22 / 171อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4685&Z=4724
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1477
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1477
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :