ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 50อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 21 / 52อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑
๑. ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑

               ปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๑               
               อรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปุญฺญาภิสนฺทา ได้แก่ ความหลั่งไหลมาแห่งบุญ. อธิบายว่า ความเกิดขึ้นแห่งบุญ.
               บทว่า กุสลาภิสนฺทา นั่นเป็นไวพจน์ของบทว่า ปุญฺญาภิสนฺทา นั้นเอง.
               ชื่อสุขัสสาหาร ก็เพราะว่าความหลั่งไหลมาแห่งบุญเหล่านี้นั้น นำซึ่งความสุขมาให้.
               ชื่อโสวัคคิกา เพราะว่าให้อารมณ์มีรูปเป็นต้นด้วยดี.
               ชื่อสุขวิปากา เพราะบุญเหล่านั้นมีความสุขเป็นวิบาก.
               ชื่อสัคคสังวัตตนิกา เพราะเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
               บทว่า จีวรํ ปริภุญฺชมาโน ความว่า ภิกษุได้ผ้าเพื่อทำจีวร เพราะเข็มและด้ายเป็นต้นไม่มี จึงเก็บไว้เองบ้าง ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ห่มเองบ้างซึ่งผ้านั้น ในเวลาผ้าเก่าทำเป็นผ้าปูนอนบ้าง ไม่อาจทำเป็นผ้าปูนอนได้ ก็ทำเป็นผ้าถูพื้นเสียบ้าง ฉีกผ้าที่ไม่เหมาะจะถูพื้นออกทำเป็นผ้าเช็ดเท้าบ้าง ก็เรียกว่าบริโภคอยู่. แต่เมื่อใดคิดว่า ผ้านี้ใครไม่อาจทำเป็นผ้าเช็ดเท้าได้ก็กวาดทิ้งไป เมื่อนั้น ชื่อว่าไม่บริโภค.
               บทว่า อปฺปมาณํ เจโตสมาธึ คือ อรหัตผลสมาธิ.
               ด้วยบทว่า อปฺปมาโณ ตสฺส ปุญฺญาภิสนฺโท นี้ ตรัสถึงบุญเจตนาของทายกนับประมาณมิได้ ด้วยว่าบุญเจตนาของทายกนั้นที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจการระลึกถึงบ่อยๆ ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ บริโภคจีวรของเราดังนี้ ชื่อว่านับประมาณมิได้ คำนี้ตรัสหมายถึงข้อนั้น.
               ส่วนในบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุใดบริโภคบิณฑบาต ดำรงชีพอยู่ด้วยบิณฑบาตนั้นและได้แม้ ๗ วัน ไม่บริโภคบิณฑบาตอื่น. ภิกษุนั้นชื่อว่าบริโภคอยู่ซึ่งบิณฑบาตนั้นแล อยู่ได้แม้ ๗ วัน.
               ก็ในเสนาสนะแห่งหนึ่ง ภิกษุจงกรมอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้าง ในสถานที่อยู่กลางคืนและพักกลางวันเป็นต้น ชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่าที่เธอยังไม่ละทิ้งเสนาสนะที่ได้แล้วไปถือเสนาสนะอื่น.
               ก็เมื่อความเจ็บไข้ สงบระงับด้วยยาขนานหนึ่ง เธอชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่าที่เธอยังไม่บริโภคยาขนานอื่น.
               บทว่า พหุเภรวํ ได้แก่ ประกอบด้วยอารมณ์อันน่ากลัวมาก.
               บทว่า รตนคณานํ ได้แก่ แห่งรตนะที่ประเสริฐ ๗ อย่าง.
               บทว่า อาลยํ ได้แก่ สถานที่อยู่อาศัย.
               บทว่า ปุถู สวนฺติ ได้แก่ แม่น้ำเป็นอันมากไหลไป.
               บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑ ๑. ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 50อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 21 / 52อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1470&Z=1509
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8052
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8052
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :