ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 34อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 35อ่านอรรถกถา 21 / 36อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔
๕. วัสสการสูตร

               อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อนุสฺสริตา ได้แก่ ตามระลึกถึง. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถระลึกถึงเรื่องสืบๆ ต่อกันมาได้.
               บทว่า ทุกฺโข คือ เป็นผู้ฉลาด.
               บทว่า ตตฺรุปายาย ความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในกิจนั้นๆ ได้อย่างนี้ว่า ในเวลานี้ควรทำกิจนี้ ดังนี้.
               บทว่า อนฺโมทิตพฺพํ ได้แก่ ควรทรงยินดี.
               บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพํ ได้แก่ ควรคัดค้าน.
               บทว่า เนว โข ตฺยาหํ ได้แก่ เราไม่อนุโมทนาแก่ท่าน.
               ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้านข้อนั้น.
               ตอบว่า พระองค์ไม่ทรงยินดี เพราะเป็นโลกิยะ ไม่ทรงคัดค้าน เพราะยึดเอาแต่ประโยชน์ที่เป็นโลกิยะ.
               บทว่า พหุสฺส ชนตา ตัดบทเป็น พหุ อสฺส ชนตา แปลว่า ประชุมชนเป็นอันมาก. ก็บทนี้ พึงทราบว่าเป็นฉัฏฐีวิภัติใช้ในอรรถตติยาวิภัติ.
               บทว่า อริเย ญาเย คือ ในมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
               บทว่า กลฺยาณธมฺมตา กุสลธมฺมตา เป็นชื่อของมรรคนั้นทั้งนั้น.
               บทว่า ยํ วิตกฺกํ ความว่า ตรึกบรรดาเนกขัมมวิตกเป็นต้นอย่างหนึ่ง.
               บทว่า น ตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกติ ความว่า ไม่ตรึกบรรดากามวิตกเป็นต้น แม้แต่วิตกเดียว.
               บทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า วิตกฺกํ นั้นเอง.
               วิตกในบทว่า วิตกฺกปเถสุ นี้ ได้แก่ ทางวิตก.
               ในบทเป็นอาทิว่า อหํ หิ พฺราหฺมณ พึงทราบว่า โดยนัยที่หนึ่ง ท่านกล่าวถึงศีลและพาหุสัจจะของพระขีณาสพ โดยนัยที่สองและที่สาม ท่านกล่าวถึงกิริยวิตก วิตกที่เป็นแต่กิริยา และกิริยาฌาน ฌานที่เป็นแต่กิริยาของพระขีณาสพ โดยนัยที่สี่ ท่านกล่าวถึงความเป็นพระขีณาสพ ดังนี้.
               บทว่า มจฺจุปาสา ปโมจนํ คือ ทางเป็นที่รอดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ.
               บทว่า ญายํ ธมฺมํ คือ มรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
               บทว่า ทิสฺวา จ สุตฺวา จ ความว่า ได้เห็นและได้ฟังแล้วด้วยญาณนั้นเอง.
               บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรคที่ ๔ ๕. วัสสการสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 34อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 35อ่านอรรถกถา 21 / 36อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=945&Z=1008
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7760
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7760
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :