ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 25อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 26อ่านอรรถกถา 21 / 27อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อุรุเวลวรรคที่ ๓
๖. กุหสูตร

               อรรถกถากุหสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในกุหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า กุหา แปลว่า ผู้หลอกลวง.
               บทว่า ถทฺธา ได้แก่ ดื้อรั้นด้วยความโกรธ และมานะ.
               บทว่า ลปา ได้แก่ พูดพล่าม.
               บทว่า สิงฺคี ความว่า ผู้ประกอบด้วยกิเลสที่ปรากฏเสมือนเขาสัตว์ ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า
               บรรดากิเลสเหล่านั้น การไว้ตัวเป็นไฉน? คือ การไว้ตัว ภาวะคือการไว้ตัวภาวะคือการไว้ในตัวในอิริยาบถ ๔ กิริยาวางท่าในอิริยาบถ ๔ ภาวะคือความมีคนแวดล้อม กิริยาวางท่ากับคนแวดล้อม.
               บทว่า อุนฺนฬา ความว่า เป็นดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น คือยกมานะเปล่าๆ ขึ้นตั้ง.
               บทว่า อสมาหิตา ความว่า ไม่ได้แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
               บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นของเรา ไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา.
               ก็บทนี้ว่า เต มยฺหํ ตรัสเพราะบวชอุทิศพระศาสดา.
               บทว่า เต โข เม ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ก็ตรัสเพราะบวชอุทิศตนในศาสนาแม้นี้ แต่ตรัสว่า มามกา เพราะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.
               บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญ เพราะเจริญด้วยศีลาทิคุณ ความงอกงามเพราะไม่หวั่นไหว ความไพบูลย์เพราะแผ่ไปในที่ทุกสถาน. ก็ภิกษุเหล่านี้นั้นย่อมงอกงามจนถึงอรหัตมรรค เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่างอกงาม.
               ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถากุหสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อุรุเวลวรรคที่ ๓ ๖. กุหสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 25อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 26อ่านอรรถกถา 21 / 27อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=685&Z=698
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7177
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7177
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :