ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 11อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 12อ่านอรรถกถา 21 / 13อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒
๒. ศีลสูตร

               อรรถกถาสีลสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เธอทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์.
               บทว่า สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ได้แก่ มีปาติโมกข์บริบูรณ์.
               บทว่า ปาติโมกฺชสํวรสํวุตา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมปิดประกอบด้วยปาติโมกขสังวรศีลอยู่เถิด.
               บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา. ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ถึงพร้อม คือประกอบด้วยอาจาระและโคจรเถิด.
               บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ได้แก่ ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย.
               บทว่า ภยทสฺสาวิโน ความว่า เป็นผู้มีปรกติเห็นโทษที่มีประมาณน้อยเหล่านั้โดยเป็นภัย.
               บทว่า สมาทาย สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า เธอทั้งหลายจงสมาทานยึดถือสิกขาบทที่ควรสมาทานนั้นๆ ในส่วนแห่งสิกขาทั้งหมดศึกษาอยู่. ครั้นทรงชักชวนและตรัสสรรเสริญในคุณที่ได้แล้ว ด้วยการตรัสธรรมประมาณเท่านี้ว่า สมฺปนฺนาสีลานํ ฯเปฯ สิกฺขาปเทสุ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงประโยชน์อันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า กิมสฺส ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทนั้น บทว่า กิมสฺส แปลว่า จะพึงมีอะไรเล่า.
               บทว่า ยตํ จเร ความว่า ภิกษุพึงเดินอย่างที่เดินสำรวมระวัง
               ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้.
               บทว่า อจฺเฉ แปลว่า พึงนั่ง.
               บทว่า ยตเมตํ ปสารเย ความว่า พึงเหยียดอวัยวะน้อยใหญ่อย่างสำรวมคือเรียบร้อย.
               บทว่า อุทฺธํ แปลว่า เบื้องบน.
               บทว่า ติริยํ แปลว่า เบื้องกลาง (ขวาง).
               บทว่า อปาจีนํ แปลว่า เบื้องล่าง.
               เบญจขันธ์ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ตรัสด้วยเหตุประมาณเท่านี้.
               คำว่า ยาวตา เป็นคำที่แสดงความกำหนด.
               บทว่า ชคโต คติ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งโลก.
               บทว่า สมเวกฺขิตา จ ธมฺมานํ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ ความว่า พิจารณาดูความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่งธรรม คือเบญจขันธ์ที่ต่างด้วยอดีตเป็นต้นเหล่านั้น ในโลกทั้งปวง คือได้พิจารณาเห็นโดยชอบด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วนที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเห็นความเกิดแห่งเบญจขันธ์ก็พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ได้. เมื่อเห็นความเสื่อมก็พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ได้.
               บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบจิต.
               บทว่า สิกฺขมานํ ความว่า เมื่อปฏิบัติ คือบำเพ็ญอยู่.
               บทว่า ปหิตตฺโต ได้แก่ มีใจเด็ดเดี่ยว. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าวอยู่.
               บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
               ก็ในสูตรนี้ตรัสคละกันกับศีล ในคาถาตรัสถึงภิกษุผู้ขีณาสพ.

               จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จรวรรคที่ ๒ ๒. ศีลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 11อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 12อ่านอรรถกถา 21 / 13อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=347&Z=371
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6713
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6713
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :