ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 561อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 562อ่านอรรถกถา 20 / 563อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อาปายิกวรรคที่ ๒
๑๐. โมเนยยสูตร

               อรรถกถาโมเนยยสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในโมเนยยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
               ความเป็นมุนี ชื่อว่าโมเนยยะ. ความเป็นมุนี คือความเป็นสาธุชน ได้แก่ ความเป็นบัณฑิตในกายทวาร ชื่อว่ากายโมเนยยะ.
               แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กายโมเนยฺยํ ความว่า จริงอยู่ การละกายทุจริต ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ากายโมเนยยะ.
               อนึ่ง แม้กายสุจริต ๓ อย่าง ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะ. ญาณที่มีกายเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะเหมือนกัน. การกำหนดรู้กาย ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะ. มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะ. การละฉันทราคะทางกาย ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะ. การดับกายสังขารและการจตุตถฌาน ก็ชื่อว่ากายโมเนยยะ.
               แม้ในวจีโมเนยยะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               ส่วนในวจีโมเนยยะและมโนโมเนยยะ นี้มีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้.
               ในที่นั้น พึงทราบการเข้าทุติยฌาน คือการดับวจีสังขารว่า ชื่อว่าวจีโมเนยยะ เหมือนการเข้าจตุตถฌานในที่นี้. ครั้นทราบเนื้อความในมโนโมเนยยะ โดยนัยแม้นี้แล้วก็ควรทราบการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการดับจิตสังขารว่า ชื่อว่ามโนโมเนยยะ.
               บทว่า กายมุนึ ได้แก่ ผู้รู้ คือผู้สูงสุด ได้แก่ผู้บริสุทธิ์ในกายทวารหรือผู้รู้ทางกาย.
               แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า สพฺพปฺปหายินํ ได้แก่ พระขีณาสพ. เพราะว่า พระขีณาสพชื่อว่า สัพพปหายี (ผู้ละได้ทั้งหมด) ฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาโมเนยยสูตรที่ ๑๐               
               จบอาปายิกวรรควรรณนาที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อาปายิกสูตร
                         ๒. ทุลลภสูตร
                         ๓. อัปปเมยยสูตร
                         ๔. อเนญชสูตร
                         ๕. อยสูตร
                         ๖. อปัณณกสูตร
                         ๗. กัมมันตสูตร
                         ๘. โสเจยยสูตรที่ ๑
                         ๙. โสเจยยสูตรที่ ๒
                         ๑๐. โมเนยยสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อาปายิกวรรคที่ ๒ ๑๐. โมเนยยสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 561อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 562อ่านอรรถกถา 20 / 563อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=7187&Z=7209
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6108
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6108
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :