ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 554อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 555อ่านอรรถกถา 20 / 556อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อาปายิกวรรคที่ ๒
๓. อัปปเมยยสูตร

               อรรถกถาอัปปเมยยสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในอัปปเมยยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บุคคล ชื่อว่า สุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยง่าย.
               ชื่อว่า ทุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยยาก.
               ชื่อว่า อปฺปเมยฺโย เพราะไม่อาจประมาณได้.
               บทว่า อนฺนโฬ ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่พุ่งขึ้น. อธิบายว่า ยกมานะที่ว่างเปล่าขึ้นตั้งไว้.
               บทว่า จปโล ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความหลุกหลิกมีการตกแต่งบาตรเป็นต้น.
               บทว่า มุขโร ได้แก่ คนปากจัด.
               บทว่า วิกิณฺณวาโจ ได้แก่ คนผู้ไม่สำรวมถ้อยคำ.
               บทว่า อสมาหิโต ได้แก่ ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ.
               บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตเปลี่ยว เปรียบเหมือนแม่โคและเนื้อป่าตัวตื่นเตลิด.
               บทว่า ปากตินทฺริโย ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย.
               บทที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาอัปปเมยยสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อาปายิกวรรคที่ ๒ ๓. อัปปเมยยสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 554อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 555อ่านอรรถกถา 20 / 556อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6994&Z=7007
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6057
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6057
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :