ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 489อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 490อ่านอรรถกถา 20 / 491อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จูฬวรรคที่ ๕
๑๑. มหาโจรสูตร

               อรรถกถามหาโจรสูตรที่ ๑๑               
               พึงทราบวินิจฉัย ในมหาโจรสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
               โจรที่มีกำลัง มีพวกมาก ชื่อว่า มหาโจร.
               บทว่า สนฺธึ ได้แก่ ที่ต่อแห่งเรือน.
               บทว่า นิลฺโลปํ ได้แก่ ปล้นแบบมหาวินาศ.
               บทว่า เอกาคาริกํ ได้แก่ ปิดล้อมปล้นเรือนหลังเดียวเท่านั้น.
               บทว่า ปริปนฺเถปิ ติฏฺฐติ ได้แก่ ดักจี้ตามทาง.
               บทว่า นทีวิทุคฺคํ ได้แก่ สถานที่ที่แม่น้ำไหลไปไม่สะดวก คือเกาะแก่งที่พวกโจรสามารถจะซุ่มซ่อนอยู่ได้พร้อมด้วยบริวาร ๒,๐๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง.
               บทว่า ปพฺพตวิสมํ ได้แก่ ที่ที่ภูเขาไม่เสมอกัน คือช่องเขาที่พวกโจรสามารถจะซุ่มซ่อนอยู่ได้ พร้อมกับบริวารเจ็ดพันหรือแปดพันคน.
               บทว่า ติณคหนํ ได้แก่ สถานที่ประมาณ ๑ โยชน์ ซึ่งหญ้าขึ้นคลุมไว้.
               บทว่า เคหํ แปลว่า เรือน. ไพรสณฑ์ที่กิ่งไม้ประสานกันติดเนื่องกันไป ชื่อว่าไพรสณฑ์ใหญ่.
               บทว่า ปริโยธาย อตฺถํ ภณิสฺสนฺติ ความว่า (พระราชาหรือมหาอำมาตย์) จักกล่าวข้อความบิดเบือน คือเพิ่มเหตุนั้นๆ เข้าไป.
               บทว่า ตฺยาสฺส ตัดบทเป็น เต อสฺส.
               บทว่า ปริโยธาย อตฺถํ ภณนฺติ ความว่า เมื่อใครๆ เริ่มกล่าวตำหนิ (เขา) (พระราชาหรือมหาอำมาตย์) จะบิดเบือนเหตุการณ์นั้นๆ หลีกเลี่ยงแม้โทษหนัก กล่าวข้อความนี้ว่า พวกท่านทั้งหลายอย่าพูดอย่างนี้ พวกเรารู้จักคนผู้นี้มาหลายชั่วตระกูล คนผู้นี้จักไม่ทำอย่างนี้.
               อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บทว่า ปริโยธาย แปลว่า ปกปิด. เพราะพระราชาหรือมหาอำมาตย์เหล่านั้นกล่าวถ้อยคำปกปิดโทษให้เขา.
               บทว่า ขตํ อุปหตํ ความว่า ชื่อว่าถูกเขาก่น เพราะถูกขุดคุณงามความดีทิ้งไป ชื่อว่าถูกประหาร เพราะเข้าไปทำลายคุณความดีเสีย.
               บทว่า วิสเมน กายกมฺเมน ความว่า ด้วยกรรมที่ทำทางกายทวาร ที่ชื่อว่าไม่เหมาะสม เพราะหมายความว่าพลาดพลั้ง.
               แม้ในวจีกรรมและมโนกรรมก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อนฺตคาหิกาย ความว่า ด้วยทิฏฐิที่ยึดเอาที่สุดมีวัตถุ ๑๐.
               ข้อความที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.

               จบอรรถกถามหาโจรสูตรที่ ๑๑               
               จบจูฬวรรควรรณนาที่ ๕               
               จบปฐมปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สัมมุขีสูตร
                         ๒. ฐานสูตร
                         ๓. ปัจจยวัตตสูตร
                         ๔. ปเรสสูตร
                         ๕. ปัณฑิตสูตร
                         ๖. ศีลสูตร
                         ๗. สังขตสูตร
                         ๘. อสังขตสูตร
                         ๙. ปัพพตสูตร
                         ๑๐. อาตัปปสูตร
                         ๑๑. มหาโจรสูตร
               ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จูฬวรรคที่ ๕ ๑๑. มหาโจรสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 489อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 490อ่านอรรถกถา 20 / 491อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3984&Z=4030
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3556
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3556
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :