ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 462อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 463อ่านอรรถกถา 20 / 464อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๔. พหุการสูตร

               อรรถกถาพหุการสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในพหุการสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ได้แก่ บุคคลผู้เป็นอาจารย์ ๓ จำพวก.
               บทว่า ปุคฺคลสฺส พหุการา ได้แก่ ผู้มีอุปการะมากแก่คนผู้เป็นอันเตวาสิก.
               บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.
               บทว่า สรณํ คโต โหติ ความว่า ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง.
               บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ นวโลกุตรธรรมพร้อมทั้งแบบแผน (พระปริยัติธรรม).
               บทว่า สํฆํ ได้แก่ ชุมนุมพระอริยบุคคล ๘ จำพวก.
               ก็การถึงสรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ไม่เคยถึงสรณะ คือผู้ไม่เคยทำความเชื่อมั่น.
               เป็นอันว่า อาจารย์ ๓ จำพวก คือ ผู้ให้สรณะ ๑ ผู้ให้ถึงโสดาปัตติมรรค ๑ ผู้ให้ถึงพระอรหัตมรรค ๑ มาแล้วในพระสูตรนี้ว่ามีอุปการะมาก.
               อาจารย์ ๕ จำพวกคือ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา ๑ อาจารย์ผู้ให้ (บอก) พุทธพจน์ ๑ กรรมวาจาจาริย์ ๑ อาจารย์ผู้ให้บรรลุสกทาคามิมรรค ๑ อาจารย์ผู้ให้บรรลุอนาคามิมรรค ๑ ไม่ได้มาแล้วในสูตรนี้.
               ถามว่า อาจารย์เหล่านี้ไม่มีอุปการะมากหรือ.
               ตอบว่า ไม่ใช่ไม่มีอุปการะมาก แต่พระธรรมเทศนานี้กำหนดไว้ ๒ ส่วน เพราะฉะนั้น อาจารย์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่ามีอุปการะมาก.
               ในบรรดาคุณธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่ได้ทำอภินิเวส (บุญญาธิการ) ไว้ ย่อมเหมาะในการถึงสรณคมน์เท่านั้น. ส่วนจตุปาริสุทธิศีล กสิณบริกรรมและวิปัสสนาญาณ เป็นคุณธรรมที่อาศัยปฐมมรรค. (ส่วน) มรรคและผลเบื้องสูงทั้ง ๒ อย่าง พึงทราบว่าอาศัยอรหัตมรรค.
               บทว่า อิมินา ปุคฺคเลน ได้แก่ บุคคลผู้เป็นอันเตวาสิกนี้.
               บทว่า น สุปฺปฏิการํ วทามิ ความว่า เราตถาคตกล่าวการทำการตอบแทนว่า ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย.
               พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า จริงอยู่ บรรดาอภิวาทนกรรมเป็นต้น อันเตวาสิก เมื่อหมอบลงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หลายร้อยครั้ง หลายพันครั้ง ลุกจากอาสนะไปต้อนรับ (อาจารย์) ในขณะที่เห็นทุกครั้ง ประนมมือ ทำสามีจิกรรมที่สมควร ถวายจีวร ๑๐๐ ผืน ๑,๐๐๐ ผืน ถวายบิณฑบาต ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ทุกวัน สร้างที่อยู่ล้วนไปด้วยแก้ว ๗ ประการโดยมีจักรวาลเป็นขอบเขต (และ) ถวายเภสัชนานัปการมีเนยใส เนยข้นเป็นต้นเป็นประจำ ชื่อว่ายังไม่สามารถจะทำการตอบแทนอุปการะที่อาจารย์ทำแล้ว (ให้หมด) ได้.

               จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๔. พหุการสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 462อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 463อ่านอรรถกถา 20 / 464อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3225&Z=3243
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2279
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2279
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :