ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 396อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 408อ่านอรรถกถา 20 / 425อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์
สมาปัตติวรรคที่ ๕

               สมาปัตติวรรคที่ ๕               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               สมาปัตติวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๔๐๘) มีวินิจฉัยดังน่อไปนี้.
               บทว่า สมาปตฺติกุสลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดอาหารสัปปายะเข้าสมาบัติ.
               บทว่า สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา ความว่า เมื่อได้เวลาตามกำหนดเป็นผู้ฉลาดออก. ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เพราะฉะนั้น ผู้นี้ชื่อว่าฉลาด ดังนี้.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๔๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อาชฺชวํ แปลว่า ความตรง.
               บทว่า มทฺทวํ แปลว่า ความอ่อนโยน.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๔๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ขนฺติ ได้แก่ อธิวาสนขันติ.
               บทว่า โสรจฺจํ ได้แก่ ความเรียบร้อย ความสงบเสงี่ยม.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๔๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สาขลฺยํ ได้แก่ ความชื่นชมโดยใช้วาจา อ่อนหวาน.
               บทว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่ การต้อนรับด้วยอามิสก็ตาม ด้วยธรรมก็ตามชื่อว่าปฏิสันถาร.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อวิหึสา ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา.
               บทว่า โสเจยฺยํ ได้แก่ ความสะอาดโดยศีล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               

               อรรถกถาสูตรที่ ๖-๗               
               ในสูตรที่ ๖ และสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๑๓-๔๑๔) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖-๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ปฏิสงฺขานพลํ ได้แก่ กำลังคือการพิจารณา.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               

               อรรถกถาสูตรที่ ๙               
               ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ชื่อว่ากำลังคือสติ เพราะเมื่อหลงลืมสติ ก็ไม่หวั่นไหว. ชื่อว่ากำลังคือสมาธิ เพราะเมื่อฟุ้งซ่าน ก็ไม่หวั่นไหว.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมโถ ได้แก่ ความที่จิตแน่วแน่.
               บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ ญาณกำหนดสังขารเป็นอารมณ์.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สีลวิปตฺติ ได้แก่ ความทุศีล.
               บทว่า ทิฏฺฐิวิปตฺติ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๒               
               ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ ความมีศีลบริบูรณ์.
               บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปทา ได้แก่ ความเป็นสัมมาทิฏฐิ.
               ด้วยบทนั้น สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งปวงที่สงเคราะห์ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๓               
               ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๔๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ ศีลที่บ่มวิสุทธิ.
               บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง ๔ ที่บ่มวิสุทธิ หรือสัมมาทิฏฐิทั้ง ๕ อย่าง.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๔               
               ในสูตรที่ ๑๔ (ข้อ ๔๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิที่บ่มวิสุทธินั่นแล.
               บทว่า ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ ความว่า ความเพียรที่สัมปยุตด้วยมรรคเบื้องต่ำนั้น
               ท่านกล่าวว่า ยถา ทิฏฺฐสฺส จ ปธานํ เพราะอนุรูปแก่ทิฏฐินั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๕               
               ในสูตรที่ ๑๕ (ข้อ ๔๒๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อสนฺตุฏฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย นอกจากอรหัตมรรค.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๕               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๖               
               ในสูตรที่ ๑๖ (ข้อ ๔๒๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า มุฏฺฐสจฺจํ แปลว่า ความเป็นผู้หลงลืมสติ.
               บทว่า อสมฺปชญฺญํ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๖               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๗               
               ในสูตรที่ ๑๗ (ข้อ ๔๒๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               สติมีใจไม่ลอยเป็นลักษณะ. สัมปชัญญะมีรู้สึกตัวเป็นลักษณะ.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๗               
               จบสมาปัตติวรรคที่ ๕               
               จบตติยปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์ สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 396อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 408อ่านอรรถกถา 20 / 425อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2461&Z=2507
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1570
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1570
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :