ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 375อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 386อ่านอรรถกถา 20 / 396อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์
ทานวรรคที่ ๓

               ทานวรรคที่ ๓               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๘๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทานานิ ความว่า ชื่อว่าทาน ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีทานเป็นต้นที่เขาให้ บทนี้เป็นชื่อของไทยธรรม.
               อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่าทาน บทนี้เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ.
               บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทาน โดยเป็นของให้.
               บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวปฏิปทาเครื่องบรรลุอมตะ นี้ชื่อว่าธรรมทาน.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               สูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๘๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ปัจจัย ๔ ชื่อว่ายาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา. แม้ธรรมะก็พึงทราบว่า ชื่อว่ายาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               สูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๘๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การสละอามิส ชื่อว่าอามิสจาคะ. การสละธรรม ชื่อว่าธรรมจาคะ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               สูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๘๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               สูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๙๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การบริโภคปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสโภคะ. การบริโภคธรรม ชื่อว่าธรรมโภคะ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               

               อรรถกถาสูตรที่ ๖               
               สูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๙๑) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖               

               อรรถกถาสูตรที่ ๗               
               สูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๙๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การแจกจ่ายปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสสังวิภาค. การแจกจ่ายธรรม ชื่อว่าธรรมสังวิภาค.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               สูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๙๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การสงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสสงเคราะห์. การสงเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมสงเคราะห์.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               

               อรรถกถาสูตรที่ ๙               
               สูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๙๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสอนุเคราะห์. การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมอนุเคราะห์.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               สูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๙๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               การแสดงความเอ็นดูด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสอนุกัมปะ เกื้อกูลด้วยอามิส. การแสดงความเอ็นดูด้วยธรรม ชื่อว่าธรรมอนุกัมปะ เกื้อกูลด้วยธรรม.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               จบทานวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ทานวรรคที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 375อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 386อ่านอรรถกถา 20 / 396อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2376&Z=2414
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1523
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1523
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :