ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 332อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 343อ่านอรรถกถา 20 / 363อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
พาลวรรคที่ ๕

               พาลวรรคที่ ๕               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๔๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อนาคตํ ภารํ วหติ ความว่า เป็นนวกะ พระเถระมิได้เชื้อเชิญ ก็กระทำภาระ ๑๐ อย่าง. ในพระบาลีนี้ว่า ถวายโรงอุโบสถ ๑ ตามประทีป ๑ ตั้งน้ำดื่ม ๑ ตั้งอาสนะ ๑ นำฉันทะมา ๑ นำปาริสุทธิมา ๑ บอกฤดู ๑ นับภิกษุ ๑ โอวาท ๑ สวดปาติโมกข์ ๑ ท่านเรียกว่า ภาระหน้าที่ของพระเถระ ดังนี้ ชื่อว่านำพาภาระที่ยังไม่มาถึง.
               บทว่า อาคตํ ภารํ น วหติ ความว่า เป็นพระเถระอยู่ ไม่กระทำภาระ ๑๐ นั้นแหละด้วยตน หรือไม่ชักชวนมอบหมายผู้อื่น ชื่อว่าไม่นำพาภาระที่มาถึงเข้า.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               แม้ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๔๔) ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๔๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ คือเนื้อราชสีห์เป็นต้นอย่างนี้ว่า นี้เป็นกัปปิยะ.
               บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นกับปิยะ มีเนื้อจระเข้และเนื้อแมวเป็นต้นอย่างนี้ว่า นี่เป็นอกัปปิยะ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๔๖) พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๔๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อนาปตฺติยา อาปตฺติสญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญในเรื่องที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นต้นว่า ภิกษุทำความสะอาดภัณฑะ รมบาตร ตัดผม เข้าบ้านโดยบอกลา นั้นอย่างนี้ว่า นี้เป็นอาบัติ.
               บทว่า อาปตฺติยา อนาปตฺติสญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญในอาบัติเพราะไม่เอื้อเฟื้อต่อเรื่องเหล่านั้นนั่นแหละ นั้นอย่างนี้ว่า นี้ไม่เป็นอาบัติ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               

               อรรถกถาสูตรที่ ๖               
               ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๔๘) พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖               

               อรรถกถาสูตรที่ ๗ เป็นต้น               
               ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๔๙-๓๕๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๕๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อาสวา ได้แก่ กิเลส.
               บทว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ ความว่า ความไม่ปรารถนาไม่วิจารณ์ส่วนในสงฆ์ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรรำคาญ.
               บทว่า กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ ความว่า ไม่รำคาญความปรารถนาวิจารณ์ส่วนในสงฆ์นั้นนั่นแหละ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น               
               ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๕๔-๓๖๒) พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

               จบอรรถถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น               
               จบพาลวรรคที่ ๕               
               จบทุติยปัณณาสก์               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ พาลวรรคที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 332อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 343อ่านอรรถกถา 20 / 363อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2191&Z=2258
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1423
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1423
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :