ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 555อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 562อ่านอรรถกถา 2 / 567อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ ๕ สิกขาบทที่ ๘

               อเจลกวรรค อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘               
               ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

               [ว่าด้วยกองทัพ ๔ เหล่าสมัยโบราณ]               
               บทว่า อพฺภุยฺยาโต คือ ทรงยกกองทัพออกไป.
               มีใจความว่า เคลื่อนกองทัพออกไปจากพระนคร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักไปประจัญหน้าข้าศึก.
               บทว่า อุยฺยุตฺตํ ได้แก่ กองทัพที่ทำการยกออกไปแล้ว.
               มีใจความว่า กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านไปแล้ว.
               สองบทว่า ทฺวาทสปุริโส หตฺถี มีความว่า ช้าง ๑ เชือกมีทหารประจำ ๑๒ คน อย่างนี้ คือพลขับขี่ ๔ คน, พลรักษาประจำ เท้าช้างเท้าละ ๒ คน.
               สองบทว่า ติปุริโส อสฺโส มีความว่า ม้า ๑ ม้ามีทหารประจำ ๓ คน อย่างนี้ คือพลขับขี่ ๑ คน, พลรักษาประจำเท้า ๒ คน.
               สองบทว่า จตุปฺปุริโส รโถ มีความว่า รถ ๑ คันมีทหารประจำ ๔ คน อย่างนี้ คือสารถี (พลขับ) ๑ คน นักรบ (นายทหาร) ๑ พลรักษาสลักเพลา ๒ คน.
               ข้อว่า จตฺตาโร ปุริสา สรหตฺถา ได้แก่ พลเดินเท้ามีพลอย่างนี้ คือทหารถืออาวุธครบมือ ๔ คน. กองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ โดยกำหนดอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนา. เมื่อไปดูเสนาเช่นนี้ เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า.
               สองบทว่า ทสฺสนูปจารํ วิชหิตฺวา มีความว่า กองทัพถูกอะไรบังไว้ หรือว่าลงสู่ที่ลุ่ม มองไม่เห็น, คือภิกษุยืนในที่นี้แล้วไม่อาจมองเห็น เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุไปยังสถานที่อื่นดู เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค.
               บทว่า เอกเมกํ มีความว่า บรรดาองค์ ๔ มีช้างเป็นต้น แต่ละองค์ๆ ชั้นที่สุดช้าง ๑ เชือกมีพลขับ ๑ คนก็ดี พลเดินเท้าอาวุธ ๑ คนก็ดี. พระราชาชื่อว่าไม่ได้เสด็จยาตราทัพ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยานหรือแม่น้ำ อย่างนี้ ชื่อว่าไม่ได้ทรงยาตราทัพ.
               บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปด้วยคิดว่า เราไปในกองทัพนี้ จักพ้นไปได้. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ ๕ สิกขาบทที่ ๘ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 555อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 562อ่านอรรถกถา 2 / 567อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=11727&Z=11806
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9467
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9467
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :