ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 397อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 402อ่านอรรถกถา 2 / 406อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑๐

               เสนาสนวรรค สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

               [ว่าด้วยเทน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน]               
               สองบทว่า ชานํ สปฺปาณกํ ได้แก่ รู้อยู่โดยประการใดประการหนึ่งว่า น้ำนี้มีตัวสัตว์เล็กๆ.
               สองบทว่า สิญฺเจยฺย วาสิญฺจาเปยฺย วา มีความว่า ภิกษุพึงเอาน้ำนั้นรดเองก็ดี สั่งคนอื่นให้รดก็ดี.
               ก็คำเช่นนี้ว่า สิญฺเจยฺยาติ สยํสิญฺจติ ดังนี้ ในพระบาลี ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่นแล.
               เมื่อภิกษุรดไม่ทำให้สาย (น้ำ) ในน้ำนั้นขาด เป็นอาบัติเพียงตัวเดียวในหม้อน้ำหม้อเดียวกัน, ในภาชนะทุกอย่างก็นัยนี้. แต่เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค แก่ภิกษุผู้รดทำให้สายน้ำขาด.
               ภิกษุทำเหมืองให้เป็นทางตรง, (น้ำ) จะไหลทั้งวันก็ตาม เป็นอาบัติตัวเดียว. ถ้าภิกษุกั้นในที่นั้นๆ แล้วไขน้ำไปทางอื่นๆ เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค. ถ้าแม้นหญ้าขนาดบรรทุกเต็มเล่มเกวียน ภิกษุใส่ลงในน้ำด้วยประโยคเดียว ก็เป็นอาบัติตัวเดียว.
               ภิกษุทิ้งหญ้าหรือใบไม้ลงทีละเส้น ทีละใบ เป็นอาบัติทุกๆ ประโยค.
               ในดินเหนียวก็ดี ในวัตถุอื่นมีไม้ โคลนและโคมัยเป็นต้นก็ดี ก็นัยนี้นั้นแล.
               ก็วิธีทิ้งหญ้าและดินลงในน้ำนี้ มิได้ตรัสหมายถึงน้ำมาก. น้ำใด เมื่อทิ้งหญ้าและดินลงไป จะถึงความแห้งไป หรือจะเป็นน้ำขุ่น, ในน้ำใด จำพวกสัตว์เล็กๆ จะตายเสีย, บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงน้ำเช่นนั้น.
               บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ               
               เสนาสนวรรคที่ ๒ จบบริบูรณ์               
               ตามวรรณนานุกรม.               
               ------------------------------------------------------------               
               หัวข้อประจำเรื่อง               
               ๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยพรากของเขียว
               ๒. อัญญวาทสิกขาบท ว่าด้วยแกล้งกล่าวคำอื่น
               ๓. อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยโพนทะนา
               ๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยหลีกไปไม่เก็บเสนาสนะ
               ๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยใช้เสนาสนะแล้วไม่เก็บ
               ๖. อนูปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยนอนแทรกแซง
               ๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดคร่าภิกษุ
               ๘. เวหาสกุฎีสิกขาบท ว่าด้วยนั่งนอนบนร่างร้าน
               ๙. มหัลลกสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
               ๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยใช้น้ำมีตัวสัตว์.

               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 397อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 402อ่านอรรถกถา 2 / 406อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=9210&Z=9267
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7379
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7379
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :