ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 304อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 342อ่านอรรถกถา 2 / 349อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙

               มุสาวาทวรรค ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

               [แก้อรรถ เรื่องอาบัติชั่วหยาบ]               
               ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ในพระบาลีนี้ว่า อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ปาราชิก ๔ และสังฆาทิเสส ๑๓ ดังนี้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์. แต่สังฆาทิเสสทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้.
               ในบาลีนั้น มีการวิจารณ์ดังต่อไปนี้ :-
               ถ้าว่า เมื่อภิกษุบอกปาราชิก ไม่พึงเป็นปาจิตตีย์ไซร้. แม้เมื่อมีศัพท์ว่าอุปสัมบัน สำหรับภิกษุและภิกษุณี ในสิกขาบทใด ท่านไม่ประสงค์เอานางภิกษุณี, ในสิกขาบทนั้น เว้นภิกษุเสีย ที่เหลือนอกนี้ ท่านเรียกว่า อนุปสัมบัน ฉันใด, ในสิกขาบทนี้ก็ฉันนั้น แม้เมื่อมีศัพท์ว่าทุฏฐุลละ สำหรับปาราชิกและสังฆาทิเสส ถ้าไม่ทรงประสงค์เอาปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะพึงตรัสคำนี้เท่านั้นว่า อาบัติที่ชื่อว่าชั่วหยาบ ได้แก่สังฆาทิเสส ๑๓.
               ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ เป็นต้นนั้น พึงมีมติของบางอาจารย์ว่า ภิกษุใดต้องปาราชิกแล้ว, ภิกษุนั้นเคลื่อนแล้วจากภิกษุภาวะ เพราะเหตุนั้น ภิกษุ เมื่อบอกอาบัติของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อมีอธิบายอย่างนี้ แม้ภิกษุผู้ด่าก็พึงต้องอาบัติทุกกฏและต้องปาจิตตีย์เท่านั้น.
               สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในปาราชิก) ว่า บุคคลเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ต้องธรรมคือปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่ง, ถ้าบุคคลเป็นผู้มีความเข้าใจว่าบริสุทธิ์ ให้บุคคลผู้นั้นกระทำโอกาส แล้วพูดมีความประสงค์จะด่า ต้องโอมสวาท. เมื่อบาลีถูกวิจารณ์อย่างนี้ ปาจิตตีย์นั่นแหละ ย่อมปรากฏแม้แก่ผู้บอกอาบัติปาราชิก. จะปรากฏ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น พระอรรถกถาจารย์เท่านั้นเป็นหลักได้ ในคำว่า ทุฏฺฐุลฺลา นาม อาปตฺติ นี้เพราะ (คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อทรงแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์ แต่สังฆาทิเสสทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาทั้งปวง. การวิจารณ์แม้อย่างอื่น หามีไม่.
               แม้ในเบื้องต้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วว่า
                         ธรรมและวินัยใด อันพระพุทธเจ้าตรัสแล้ว
                         ธรรมและวินัยนั้น อันโอรสทั้งหลายของ
                         พระพุทธเจ้านั้นรู้แล้วอย่างนั้นนั่นเทียว
                         ดังนี้เป็นต้น.
               จริงอยู่ พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายย่อมทราบพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า.
               ก็คำของพระอรรถกถาจารย์นั่น บัณฑิตพึงทราบโดยบรรยายแม้นี้ :-
               สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ.
               ก็การบอกแก่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อประโยชน์ในอันสำรวมต่อไป คือเพื่อประโยชน์จะไม่ต้องอาบัติเช่นนั้นอีก, และไม่ใช่เพื่อต้องการจะประกาศเพียงโทษของภิกษุนั้น, ทั้งไม่ใช่เพื่อต้องการเกียดกันที่พึ่งของภิกษุนั้นในพระศาสนา, และความเป็นภิกษุของผู้ต้องปาราชิกโดยไม่ต้องอาบัติเห็นปานนั้นอีก หามีไม่ เพราะเหตุนั้น คำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาราชิกไว้ เพื่อแสดงอรรถแห่งทุฏฐุลลศัพท์ แต่สังฆาทิเสส ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้ ดังนี้ เป็นอันท่านกล่าวชอบแล้ว.
               ก็ในคำว่า อตฺถิ ภิกฺขุสมฺมติ อาปตฺติปริยนฺตา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ภิกษุสมมติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ไม่ได้มาในบางสิกขาบท, แต่เพราะภิกษุสมมติตรัสไว้ในสิกขาบทนี้นั่นแล จึงควรทราบว่า สงฆ์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติเนืองๆ แล้วอปโลกน์ ๓ ครั้ง ทำด้วยความเป็นผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่ภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้จักถึงความสังวรต่อไป แม้ด้วยความละอายและความเกรงกลัวในคนเหล่าอื่นอย่างนี้.
               คำว่า อทุฏฺฐุลฺลํ อาปตฺตึ อาโรเจติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้บอกกองอาบัติแม้ทั้ง ๕. ในมหาปัจจรีท่านปรับอาบัติทุกกฏอย่างเดียว แม้แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติปาราชิก.
               ในคำว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส ทุฏฺฐุลฺลํ วา อทุฏฺฐุลฺลํ วา อชฺฌาจารํ นี้ ท่านกล่าวรูปความไว้ว่า สิกขาบท ๕ ข้างต้น ชื่อว่าอัชฌาจารชั่วหยาบ ที่เหลือชื่อว่าอัชฌาจารไม่ชั่วหยาบ, ก็สุกกวิสัฏฐิ กายสังสัคคะ ทุฏฐุลลวาจา และอัตตกามะ ชื่อว่าเป็นอัชฌาจารของภิกษุนั้น.
               สองบทว่า วตฺถุํ อาโรเจติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้บอกอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ต้องสุกกวิสัฏฐิ ต้องกายสังสัคคะ ต้องทุฏฐุลละ ต้องอัตตกามะ.
               สองบทว่า อาปตฺตึ อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุนี้ต้องปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส ต้องถุลลัจจัย ต้องปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุบอกเชื่อมต่ออาบัติกับวัตถุโดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุนี้ปล่อยอสุจิ ต้องสังฆาทิเสส ดังนี้เท่านั้น จึงเป็นอาบัติ.
               คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.

               ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 304อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 342อ่านอรรถกถา 2 / 349อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=8400&Z=8470
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6441
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6441
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :