ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 254อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 255อ่านอรรถกถา 2 / 284อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓

               มุสาวาทวรรค เปสุญญาวาทสิกขาบทที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

               [แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์]               
               บทว่า ภณฺฑนชาตานํ ได้แก่ ผู้เกิดบาดหมางกันแล้ว.
               ส่วนเบื้องต้นแห่งความทะเลาะกัน ชื่อว่า ภัณฑนะ (ความบาดหมาง).
               คือ การปรึกษากันในฝักฝ่ายของตน มีอาทิว่า เมื่อเขากล่าวคำอย่างนี้ว่า กรรมอย่างนี้ อันคนนี้และคนนี้กระทำแล้ว พวกเราจักกล่าวอย่างนี้ (ชื่อว่า ภัณฑนะ ความบาดหมาง). การล่วงละเมิดทางกายและวาจา ให้ถึงอาบัติ ชื่อว่า กลหะ (การทะเลาะ). การกล่าวขัดแย้งกัน ชื่อว่า วิวาทะ. พวกภิกษุผู้ถึงความวิวาทกันนั้น ชื่อว่า วิวาทาปันนะ.
               บทว่า เปสุญฺญํ ได้แก่ ซึ่งวาจาส่อเสียด. มีคำอธิบายว่า ซึ่งวาจาทำให้สูญเสียความเป็นที่รักกัน.
               บทว่า ภิกฺขุเปสุญฺเญ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย.
               อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุแล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ.
               สองบทว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๒ อย่าง.
               บทว่า ปิยกมฺยสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาให้ตนเป็นที่รักของเขาว่า เราจักเป็นที่รักของผู้นี้ อย่างนี้หนึ่ง.
               บทว่า เภทาธิปฺปายสฺส วา คือ ของผู้ปรารถนาความแตกร้าวแห่งคนหนึ่งกับคนหนึ่ง ว่าคนนี้จักแตกกันกับคนนี้ด้วยอาการ อย่างนี้หนึ่ง.
               บททั้งปวง มีบทว่า ชาติโต วา เป็นอาทิ มีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบทนี้ ชนทั้งหมดจนกระทั่งนางภิกษุณีเป็นต้น ก็ชื่อว่า อนุปสัมบัน.
               สองบทว่า น ปิยกมฺยสฺส น เภทาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เห็นภิกษุรูปหนึ่งกำลังด่า และรูปหนึ่งอดทนได้แล้วกล่าว เพราะตนเป็นผู้มักติคนชั่วอย่างเดียว โดยทำนองนี้ว่า โอ! คนไม่มียางอายจักสำคัญคนดีชื่อแม้เช่นนี้ว่า ตนควรว่ากล่าวได้เสมอ.
               บทที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑ กายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

               เปสุญญวาทสิกขาบทที่ ๓ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 254อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 255อ่านอรรถกถา 2 / 284อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=6722&Z=7107
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6092
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6092
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :