ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 91อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 97อ่านอรรถกถา 2 / 101อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖

               โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖               
               พรรณนาเอฬกโลมสิกขาบท               
               เอฬกโลมสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :-
               ในเอฬกโลมสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อุปฺผณฺเฑสุํ มีความว่า พวกชาวบ้านกล่าวคำสัพยอกเป็นต้นว่า ท่านขอรับ (ขนเจียมนี้) ท่านซื้อมาด้วยราคาเท่าไร?
               สองบทว่า ฐิตโกว อาสุมฺภิ มีความว่า พวกชาวบ้านขนมัดฟืนแบกใหญ่มาจากป่าเหน็ดเหนื่อยแล้วโยนลงไป ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ฉันใด ภิกษุนี้ได้โยน (ขนเจียม) ให้ตกลงไปฉันนั้น.
               บทว่า สหตฺถา แปลว่า ด้วยมือตนเอง. มีคำอธิบายว่า นำไปด้วยตนเอง.
               สองบทว่า พหิติโยชนํ ปาเตติ มีความว่า โยนออกไปภายนอก ๓ โยชน์. เมื่อขนเจียมจะตกไปโดยไม่มีอันตราย พอพ้นจากมือ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์มากตัวตามจำนวนเส้นขน. ถ้าขนเจียมที่โยนไปนั้นกระทบที่ต้นไม้ หรือเสาในภายนอก ๓ โยชน์แล้วตกลงภายใน (๓ โยชน์) อีก ยังไม่ต้องอาบัติ. ถ้าห่อขนเจียม ตกลงพื้นหยุดแล้วกลิ้งไป กลับเข้ามาภายใน (๓ โยชน์) อีก เป็นอาบัติแท้.
               ภิกษุยืนข้างในเอามือ หรือเท้า หรือไม้เท้ากลิ้งไป, ห่อขนเจียมจะหยุด หรือไม่หยุดก็ตาม กลิ้งออกไป, เป็นอาบัติเหมือนกัน. ภิกษุวางไว้ด้วยตั้งใจว่า คนอื่นจักนำไป, แม้เมื่อคนนั้นนำขนเจียมไปเป็นอาบัติเหมือนกัน. ขนเจียมที่ภิกษุวางไว้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ลมพัดไปหรือคนอื่นให้ตกไป ในภายนอกโดยธรรมดาของตน เป็นอาบัติเหมือนกัน เพราะภิกษุมีอุตสาหะ และเพราะสิกขาบทเป็นอจิตตกะ.
               แต่ในกุรุนทีเป็นต้น ท่านกล่าวอนาบัติไว้ ในเพราะขนเจียมที่ถูกลมพัดไป หรือบุคคลอื่นให้ตกไปภายนอกนี้, อนาบัติที่ท่านกล่าวไว้นั้น ไม่สมด้วยบาลีแห่งอนาปัตติวาร.
               ภิกษุกระทำห่อทั้งสองข้างให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เมื่อวางไว้ให้ห่อหนึ่งอยู่ภายในเขตแดน อีกห่อหนึ่งให้อยู่ในภายนอกเขตแดน, ยังรักษาอยู่ก่อน. แม้ในหาบที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. แต่ถ้าว่าขนเจียมเป็นเพียงแต่ภิกษุวางไว้ที่ปลายหาบมิได้ผูกเลย, ย่อมคุ้มอาบัติไม่ได้. เมื่อภิกษุสับเปลี่ยนแม้ขนเจียมที่เนื่องเป็นอันเดียวกันไปวางไว้แทน ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน.
               ในคำว่า อญฺญสฺส ยาเน วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ภิกษุวางไว้บนยานหรือบนหลังช้างเป็นต้น ซึ่งกำลังไป ด้วยตั้งใจว่า เมื่อเจ้าของเขาไม่รู้เลย มันจักนำไปเอง, เมื่อยานนั้นล่วงเลย ๓ โยชน์ ไปเป็นอาบัติทันที. แม้ในยานที่จอดอยู่ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า ภิกษุวางขนเจียมไว้บนยาน หรือบนหลังช้างเป็นต้นที่ไม่ไป แล้วขึ้นขับขี่ไป หรือไปเตือนภายใต้ (ให้ไป) หรือเรียกให้ (จอดอยู่) ติดตามไป, ไม่เป็นอาบัติ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุให้คนอื่นช่วยนำไป. แต่ในกุรุนทีเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นอาบัติ. คำนั้นไม่สมด้วยคำนี้ว่า ภิกษุให้คนอื่นช่วยนำไป.
               ก็ในอทินนาทานเป็นอาบัติในเพราะสุงกฆาฏ (ตระบัดภาษี).
               แท้จริง อาบัติใดในอทินนาทานนั้น, อาบัตินั่นเป็นอนาบัติในสิกขาบทนี้, อาบัติใดในสิกขาบทนี้, อาบัตินั้นเป็นอนาบัติในอทินนาทานนั้น.
               ภิกษุไปถึงสถานที่นั้นส่งใจไปอื่น หรือถูกพวกโจรเป็นต้นรบกวนเลยไปเสียก็ดี, เป็นอาบัติเหมือนกัน. พึงทราบจำนวนอาบัติ ตามจำนวนเส้นขนในฐานะทั้งปวง.
               หลายบทว่า ติโยชนํ วาสาธิปฺปาโย คนฺตฺวา ตโต ปรํ หรติ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นำไป แม้ตั้งร้อยโยชน์อย่างนี้ คือเพราะไม่ได้อุเทศและปริปุจฉาเป็นต้น ในที่ที่ตนไปแล้ว ภิกษุจึงไปในที่อื่นต่อจากที่นั้น, ไปในที่อื่นแม้จากที่นั้น.
               สองบทว่า อจฺฉินฺนํ ปฏิลภิตฺวา มีความว่า พวกโจรชิงเอาขนเจียมนั้นไป รู้ว่าไม่มีประโยชน์แล้วคืนให้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นำขนเจียมนั้นไป.
               สองบทว่า นิสฺสฏฺฐํ ปฏิลภิตฺวา มีความว่า ได้ขนเจียมที่ทำวินัยกรรมแล้วคืนมา.
               บทว่า กตภณฺฑํ มีความว่า ขนเจียมที่เขาทำเป็นสิ่งของ มีผ้ากัมพล พรมและสันถัตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงมัดด้วยเส้นด้าย.
               อนึ่ง ภิกษุใดสอดขนเจียมลงในระหว่างถลกบาตรบางๆ ก็ดี ในหลืบผ้ารัดเข่า ผ้าอังสะและประคดเอวเป็นต้นก็ดี ในฝักมีด เพื่อป้องกันสนิมกรรไกรเป็นต้นก็ดี โดยที่สุดอาพาธเป็นลม ยอนขนเจียมไว้แม้ในช่องหูแล้วเดินไปเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเหมือนกัน, แต่ขนเจียมที่มัดด้วยด้ายใส่ไว้ (ในระหว่างรองเท้าและถลกบาตรเป็นต้น) ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของ. ภิกษุทำให้เป็นช้องผมแล้วนำไป, นี้ชื่อว่าทางเลี่ยงเก็บ, เป็นอาบัติเหมือนกัน.
               คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น เอฬกโลมสิกขาบทนี้ ชื่อว่าเอฬกโลมสมุฏฐาน (มีขนเจียมเป็นสมุฏฐาน) ย่อมเกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๖ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 91อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 97อ่านอรรถกถา 2 / 101อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=2266&Z=2377
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4657
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4657
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :