ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 956อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 962อ่านอรรถกถา 19 / 966อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ ชราวรรคที่ ๕
๑. ชราสูตร

               ชราวรรคที่ ๕               
               อรรถกถาชราสูตรที่ ๑               
               ชราวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑. คำว่า ปจฺฉาตปเก (มีแดดอยู่ทางหลัง) คือมีแดดอยู่ทางทิศตะวันตกแห่งปราสาท เพราะเงาปราสาทบังทิศตะวันออก. อธิบายว่า เสด็จประทับนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ที่ปูไว้ในที่นั้น.
               คำว่า ผินพระปฤษฏางค์ผิงแดด ความว่า เพราะในพระสรีระที่เป็นเย็น ก็สมัยนี้เป็นสมัยหนาวมีน้ำค้างตก ฉะนั้น ในเวลานั้นจึงทรงเอามหาจีวรออกแล้ว เสด็จประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ผิงแดด.
               ถามว่า แสงแดดสามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าเข้าไปภายในได้หรือ.
               ตอบว่า ไม่ได้.
               เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรส่องให้ร้อน.
               เดชแห่งรัศมีส่องให้ร้อน เหมือนอย่างว่า แสงแดดถูกต้องตัว คนที่นั่งโคนไม้ใต้ร่มที่เป็นปริมณฑลในเวลาเที่ยงไม่ได้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ความร้อนก็ยังแผ่ไปทุกทิศ เหมือนเอาเปลวไฟมาล้อมรอบฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อแสงแดดไม่สามารถข่มรัศมีพระพุทธจ้าแล้วแทรกเข้าไปข้างในได้ ก็พึงทราบว่าพระศาสดาประทับนั่งรับความร้อนอยู่.
               คำว่า บีบนวด คือ ทรงลูบขยำด้วยอำนาจทำการผิงพระปฤษฎางค์.
               คำว่า ข้าพระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ คือ พระเถระปลดมหาจีวรออกจากพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เห็นรอยหย่อนยานเท่าปลายผม เหมือนขดทองคำในระหว่างปลายพระอังสะ (บ่า) ทั้งสองข้างของพระองค์ผู้ประทับนั่งเกิดความสังเวช เมื่อจะตำหนิความแก่ว่า แม้แต่ในพระสรีระขนาดนี้ก็ยังปรากฏมีความแก่จนได้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
               นัยว่า นี้ชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์สำหรับช่างติ.
               เมื่อแสดงว่า พระฉวีวรรณที่หมดจดโดยปกติ ไม่อย่างนั้นเสียแล้ว จึงทูลอย่างนี้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้หมดจดเหมือนเมื่อก่อนไป พระเจ้าข้า.
               จริง [อย่างนั้น] เมื่อเวลาที่พระตถาคตเจ้ายังทรงหนุ่มอยู่ พระวรกายไม่มีรอยย่น เหมือนหนังโคที่เขาเอาขอตั้งร้อยเล่ม มาดึงขึงให้เท่ากันด้วยประการฉะนี้. ฝุ่นละอองที่มาตั้งไว้ในพระหัตถ์นั้นก็ตกหล่นไป ค้างอยู่ไม่ได้เลย เหมือนถึงอาการเช็ดด้วยน้ำมัน แต่ในยามแก่เฒ่า (สำหรับคนทั่วไป) เปลวที่ศีรษะก็เหี่ยวห่อไป แม้แต่ข้อศอกก็ห่างกันออกไป เนื้อก็ไม่เกาะกระดูกสนิท ถึงความหย่อนยานห้อยย้อยไปในที่นั้นๆ. แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาเป็นอย่างนั้นไม่. อาการดังที่มานี้ หาได้ปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่ ปรากฏแต่แก่พระอานนทเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ท่านจึงทูลอย่างนั้น.
               คำว่า พระสรีระหย่อนย่น คือ เกลียวย่นปรากฏในที่นั้นๆ คือ ที่หน้า ที่ระหว่างจะงอยบ่าของคนเหล่าอื่น แต่สิ่งมานั้นหามีแก่พระศาสดาไม่ แต่พระเถระมองเห็นขดรอยย่นระหว่างปลายพระอังสะทั้งสองข้าง จึงได้ทูลอย่างนั้น.
               แม้คำว่า สัณฐานเกิดเป็นเกลียวนี้ ท่านก็กล่าวด้วยอำนาจที่ปรากฏแก่ตนเท่านั้น แต่รอยย่นเหมือนของคนเหล่าอื่นหามีแก่พระศาสดาไม่.
               คำว่า พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า คือ พระศาสดาทรงมีพระกายตรงเหมือนกายพรหม คือ พระกายของพระองค์สูงตรงขึ้นไป เหมือนเสาหลักทองคำที่ปักไว้ในเทพนคร แต่เมื่อทรงพระชราแล้ว พระกายก็ค้อมไปข้างหน้า และท่านว่า พระกายที่ค้อมไปข้างหน้านี้ หาปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่ ปรากฏแต่แก่พระเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
               คำว่า และความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ทั้งหลายก็ปรากฏ คือ ที่ชื่อว่าอินทรีย์ทั้งหลาย หาใช่อินทรีย์ที่ต้องรู้แจ้งด้วยตาไม่ เพราะโดยปกติ พระฉวีวรรณก็หมดจดอยู่แล้ว แต่บัดนี้หาได้หมดจดอย่างนั้นไม่ รอยย่นปรากฏที่ระหว่างปลายพระอังสะ พระกายที่ตรงเหมือนกายพรหม ก็โกงไปข้างหน้า ด้วยเหตุนี้แล ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยการถือเอานัยว่า ก็แลความที่อินทรีย์มีตาเป็นแปรปรวนไปต้องมี.
               คำว่า ธิ ตํ ชมฺมีชเร อตฺถุ ความว่า โธ่ ความแก่ลามกจงมีกะเจ้าคือแก่เจ้า.
               ธิ อักษร คือ ความติเตียนจงถูกต้องเจ้า. อัตภาพ ชื่อว่า พิมพ์.

               จบอรรถกถาชราสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ ชราวรรคที่ ๕ ๑. ชราสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 956อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 962อ่านอรรถกถา 19 / 966อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5669&Z=5692
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6979
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6979
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :