ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 949อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 956อ่านอรรถกถา 19 / 962อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สุขินทริยวรรคที่ ๔
๑๐. อุปปฏิกสูตร

               อรรถกถาอุปปฏิกสูตรที่ ๑๐               
               อุปปฏิกสูตรที่ ๑๐. ยถาธรรมเทศนาที่ไม่จำเป็นต้องแสดง พึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นสูตรที่นอกเหนือไปจากลำดับ (ไม่เข้าลำดับ) เหมือนอย่างสูตรที่เหลือในอินทริยวิภังค์แม้ที่กล่าวแล้วตามลำดับนี้.
               ในสูตรที่ ๑๐ นั้น คำทั้งหมดเป็นต้นว่า นิมิต เป็นคำใช้แทนปัจจัยนั่นเอง.
               คำว่า และย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ คือ ย่อมรู้ด้วยอำนาจทุกขสัจนั่นเอง.
               คำว่า ทุกฺขินฺทริยสมุทยํ คือ วิญญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถูกหนามตำเอง ถูกเรือดกัด หรือถูกรอยย่นที่ปูนอนกระทบ ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้นว่าเป็นเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมของทุกขินทรีย์นั้น.
               พึงทราบสมุทัยด้วยอำนาจเหตุแห่งอินทรีย์เหล่านั้น แม้ในบทเป็นต้นว่า โทมนสสินฺริสมุทยํ ข้างหน้า.
               โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจความฉิบหายแห่งสังขารข้างนอกมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือแห่งเหล่าสัตว์มีสัทธิวิหาริกเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ย่อมรู้ชัดความฉิบหายแห่งสังขารและสัตว์เหล่านั้นว่าเป็นสมุทัยแห่งโทมนัสสินทรีย์นั้น.
               ผู้ที่กินอาหารอย่างดีแล้ว นอนบนที่นอนอย่างประเสริฐ ย่อมเกิดสุขินทรีย์ขึ้นด้วยการสัมผัสมีการนวดมือและเท้าและลมที่เกิดจากพัดใบตาลเป็นต้น ย่อมรู้ชัดผัสสะนั้นว่าเป็นเหตุของสุขินทรีย์นั้น.
               ส่วนโสมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจการได้เฉพาะสัตว์และสังขารที่น่าชื่นใจมีประการที่กล่าวมาแล้ว ย่อมรู้ชัดการได้เฉพาะนั้นว่าเป็นเหตุแห่งโสมนัสสินทรีย์นั้น.
               ส่วนอุเบกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการที่เป็นกลางๆ ย่อมรู้ชัดอาการที่เป็นกลางๆ ในสัตว์และสังขารนั้นว่าเป็นเหตุแห่งอุเบกขินทรีย์นั้น.
               ก็แหละคำชี้ขาดไปพร้อมๆ กันในคำว่า ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับสิ้นไปโดยไม่มีเหลือในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเป็นต้น ดังต่อไปนี้
               แท้จริง ทุกขินทรีย์ย่อมดับสิ้นไปในขณะอุปจาระแห่งฌานที่ ๑ ทีเดียว ทุกขินทรีย์ย่อมเป็นอันละได้แล้ว. โทมนัสเป็นต้นย่อมดับสิ้นไปในอุปจารขณะแห่งฌานที่ ๒ เป็นต้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความดับสิ้นไปในฌานทั้งหลายนั่นเองนี้แล (ก็ย่อมมี) เพราะความที่โทมนัสเป็นต้นเหล่านั้นดับสิ้นไปเป็นอย่างยิ่ง.
               จริงอยู่ ความดับสิ้นไปเป็นอย่างยิ่งแห่งโทมนัสเป็นต้นเหล่านั้น ก็คือความดับสิ้นไปอย่างยิ่งด้วยอุปจารขณะ.
               จริงอย่างนั้น ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์แม้ที่ดับสิ้นไปแล้วในอุปจาระแห่งฌานที่ ๑ ซึ่งมีอาวัชชนจิตต่างๆ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบยุงและลมเป็นต้น ด้วยความอบอ้าวที่ไม่คงที่ หรือด้วยมีดพร้า หรือว่าทุกขินทรีย์ที่ดับสิ้นไปแล้วในอุปจาระในภายอัปปนาก็ไม่ใช่ และทุกขินทรีย์นั้นก็ไม่ใช่ดับหมดไปอย่างดีด้วย.
               แต่กายย่อมเป็นสุข น่าใคร่อย่างทั่วถึงด้วยการแผ่ปีติไปภายในอัปปนา เพราะไม่ถูกสิ่งที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกำจัดได้ ชื่อว่าเป็นสุขแม้เพราะความเป็นของที่น่าใคร่. ทุกขินทรีย์จึงชื่อว่าย่อมดับลงไปอย่างดี เพราะถูกฝ่ายตรงกันข้ามกำจัดไป.
               และเพราะเมื่อโทมนัสสินทรีย์ถูกละในอุปจาระแห่งฌานที่ ๒ ซึ่งมีอาวัชชนจิตแตกต่างกันนั่นแหละ ฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์นั้น เมื่อมีความลำบากกาย และใจถูกเบียดเบียนเพราะความตรึกตรองเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น เพราะไม่มีความตรึกตรองนั่นแหละสุขินทรีย์จึงเกิดขึ้นก็และเกิดขึ้นในที่ใด ในที่นั้น ก็เป็นอัปปนาเพราะไม่มีความตรึกตรอง.
               ก็ความตรึกตรองย่อมเกิดขึ้นในอุปจาระแห่งฌานที่ ๒ ก็ไม่ใช่เกิดในฌานที่สองเลยเพราะละปัจจัยได้แล้ว แม้เมื่อสุขินทรีย์ถูกละในอุปจาระแห่งฌานที่ ๓ ก็อย่างนั้น พึงมีการเกิดขึ้นแห่งกายที่รูปอันประณีตซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว แต่หาใช่เกิดขึ้นในฌานที่ ๓ ไม่. เพราะปีติอันเป็นปัจจัยแห่งสุขดับไปหมดแล้วด้วยฌานที่สาม ในอุปจาระแห่งฌานที่ ๔ ก็เหมือนกัน เพราะยังไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา เหตุว่าอยู่ใกล้โสมนัสสินทรีย์ที่แม้จะละได้แล้ว ก็อาจจะมีการเกิดขึ้นได้ เพราะยังก้าวล่วงไม่ได้อย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่ใช่เกิดขึ้นในฌานที่ ๔ เลย เพราะฉะนั้น ในฌานที่ ๔ นี้ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วจึงดับไปโดยไม่เหลือ การถือเอาโดยไม่เหลือในฌานนั้นๆ ท่านได้ทำแล้วดังที่ว่ามานี้.
               ก็คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ว่า ย่อมน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น ในคำนั้นก็พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า บุคคลเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อประโยชน์การเกิดขึ้น ฉะนั้น บุคคลเป็นผู้ได้ ก็ย่อมน้อมจิตไปเพื่อประโยชน์การเข้าถึง.
               ก็แลวาระการพิจารณาในสองสูตรนี้ พระองค์ได้ตรัสไว้ดังที่กล่าวมานี้.

               จบอรรถกถาอุปปฏิกสูตรที่ ๑๐               
               จบสุขินทริยวรรควรรณนาที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สุทธกสูตร
                         ๒. โสตาปันนสูตร
                         ๓. อรหันตสูตร
                         ๔. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
                         ๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
                         ๖. วิภังคสูตรที่ ๑
                         ๗. วิภังคสูตรที่ ๒
                         ๘. วิภังคสูตรที่ ๓
                         ๙. อรหันตสูตร
                         ๑๐. อุปปฏิกสูตร.
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สุขินทริยวรรคที่ ๔ ๑๐. อุปปฏิกสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 949อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 956อ่านอรรถกถา 19 / 962อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5605&Z=5668
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=6937
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=6937
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :