ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1743อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1744อ่านอรรถกถา 19 / 1745อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ ปปาตวรรคที่ ๔
๘. ฉิคคฬสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘               
               พึงทราบอธิบายในทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘.
               คำว่า มหาปฐพี ได้แก่ แผ่นดินใหญ่ระหว่างจักรวาล.
               คำว่า อธิจฺจมิทํ ความว่า ถ้าว่าแอกนั้นไม่พึงเน่า น้ำในทะเลจะไม่แห้ง และเต่านั้นยังไม่ตาย เหตุนั้นก็จะพึงมีด้วยอำนาจตามความปรารถนาได้บ้าง.
               ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยากอย่างนี้ นี้พระมหาสีวเถระได้แสดงยุตทั้ง ๔ คือการได้ความเป็นมนุษย์ ชื่อว่าได้ยากอย่างยิ่ง เหมือนการทำเต่าตาบอดนั้นสอดคอเข้าไปทางช่องแอก ที่บุรุษยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกโยนใส่เข้าไป.
               ก็การเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงฝั่งก็ยากอย่างยิ่ง เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศใต้ โยนใส่เข้าไปแล้วหมุนไปรอบๆ อยู่ ถึงแอกอันแรกแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทางช่องสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.
               ก็การแสดงธรรมและวินัย ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้วชื่อว่าเป็นเหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่า เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันตกโยนใส่เข้าไปแล้ว หมุนไปรอบๆ แล้วถึงแอก ๒ อันข้างบน แล้วขึ้นสู่ช่องข้างบนโดยทางช่อง แล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.
               ก็การแทงตลอดสัจจะ ๔ พึงทราบว่า เป็นเหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่าอย่างยิ่ง เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศเหนือ โยนใส่เข้าไปแล้วหมุนไปรอบๆ อยู่ ถึงแอก ๓ อันข้างบนแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทางช่องแล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.
               สูตรที่ ๙ เป็นต้นมีนัยตามที่กล่าวแล้วในอภิสมยสังยุตนั่นเทียวแล.

               จบอรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘               
               จบปปาตวรรควรรณนาที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. จินตสูตร
                         ๒. ปปาตสูตร
                         ๓. ปริฬาหสูตร
                         ๔. กูฏสูตร
                         ๕. วาลสูตร
                         ๖. อันธการีสูตร
                         ๗. ฉิคคฬสูตรที่ ๑
                         ๘. ฉิคคฬสูตรที่ ๒
                         ๙. สิเนรุสูตรที่ ๑
                         ๑๐. สิเนรุสูตรที่ ๒
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ ปปาตวรรคที่ ๔ ๘. ฉิคคฬสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1743อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1744อ่านอรรถกถา 19 / 1745อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=10715&Z=10730
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8392
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8392
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :