ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1369อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1380อ่านอรรถกถา 19 / 1399อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒
๓. อานันทสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมอานันทสูตรที่ ๓               
               ปฐมอานันทสูตรที่ ๓.
               คำว่า ย่อมค้นคว้า คือ ย่อมเลือกเฟ้นด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีก ๒ บทนอกนี้เป็นคำใช้แทนคำว่า ย่อมค้นคว้า นี้เอง.
               คำว่า อันหาอามิสมิได้ คือ ไม่มีกิเลส ได้แก่ ทั้งกายทั้งจิตย่อมสงบรำงับด้วยความสงบรำงับความกระวนกระวายทางกายและทางใจ.
               คำว่า ย่อมตั้งมั่น ได้แก่ ถูกตั้งไว้โดยชอบ คือเป็นเหมือนอัปปนาจิต.
               คำว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง คือ ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่งด้วยความวางเฉยอย่างยิ่งต่อธรรมที่เกิดร่วมด้วย.
               สติในกายนั้นของภิกษุผู้กำหนดกายด้วยวิธี ๑๔ อย่างดังที่ว่ามานี้ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ญาณที่ประกอบกับสตินั้นเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเพียรที่เป็นไปในทางกายและทางจิตที่ประกอบกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั่นแหละ เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ ปีติ ปัสสัทธิและจิตเตกัคคตา เป็นปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์และสมาธิสัมโพชฌงค์ อาการที่เป็นกลางๆ คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
               เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกม้าวิ่งไปสม่ำเสมอ การทิ่มแทงว่าตัวนี้ชักช้า หรือการรั้งว่าตัวนี้วิ่งเร็วเกินไป ย่อมไม่มีแก่สารถี มีเพียงอาการตั้งอยู่ของม้าที่วิ่งอยู่อย่างนั้นอย่างเดียวฉันใดเทียว อาการที่เป็นกลางๆ คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไป ของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้ ก็ชื่อว่าเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ฉันนั้นแล.
               ด้วยถ้อยคำเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอะไรไว้
               ได้ตรัสชื่อว่า วิปัสสนา โพชฌงค์พร้อมทั้งลักษณะที่ประกอบด้วยขณะจิตเดียวไว้แล้ว.
               คำเป็นต้นว่า อันอาศัยวิเวก มีใจความที่กล่าวไว้เสร็จแล้ว.
               ถามว่า ก็ในสูตรนี้ ทรงแสดงสติกำหนดลมหายใจออกและหายใจเข้าสิบหกครั้ง เป็นแบบเจือกันไปอย่างไร.
               ตอบว่า การตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ที่มีลมหายใจออกและหายใจเข้าเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้น ความระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้าซึ่งเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้นของการตั้งสติเหล่านั้น การตั้งสติที่ยังโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แม้โพชฌงค์เหล่านั้นก็เป็นส่วนเบื้องต้น แต่โพชฌงค์ที่ทำให้ความรู้แจ้ง และความหลุดพ้นบริบูรณ์เป็นโลกุตระที่ให้เกิดขึ้นแล้ว ความรู้แจ้งและความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ประกอบกับอริยผล หรือความรู้แจ้งเป็นสิ่งที่ประกอบกับมรรคที่ ๔ ความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ประกอบกับผลด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาปฐมอานันทสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ ๓. อานันทสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1369อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1380อ่านอรรถกถา 19 / 1399อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=8010&Z=8110
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7732
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7732
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :