ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1321อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1327อ่านอรรถกถา 19 / 1348อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุตต์ เอกธรรมวรรคที่ ๑
๘. ทีปสูตร

               อรรถกถาทีปสูตรที่ ๘               
               ทีปสูตรที่ ๘. คำว่า เนว เม กาโยปิ กิลมติ น จกฺขูมิ ความว่า โดยทั่วไป เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานอย่างอื่น กายย่อมเหน็ดเหนื่อยบ้าง จักษุก็ย่อมลำบากบ้าง.
               จริงอยู่ เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน กายย่อมลำบาก เป็นเหมือนถึงอาการจับใส่ในเครื่องยนต์แล้วเบียดเบียน. เมื่อกำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ จักษุก็กลอกไปมา ย่อมเหนื่อยเป็นเหมือนถึงอาการทะลักตกลงไป. แต่เมื่อทำงานในกัมมัฏฐานนี้ กายก็ไม่เหนื่อยเลย จักษุทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
               ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปสัญญาทั้งหมด เราจะเพิกกสิณในอานาปานะ (ลมหายใจออกเข้า) ได้หรือ.
               ตอบ ได้.
               สำหรับพระจูฬาภยเถระผู้ชำนาญไตรปิฎก กล่าวว่า เพราะเหตุที่นิมิตของอานาปานะย่อมปรากฏเป็นเหมือนแถวแก้วมุกดาในรูปดาวฉะนั้น ในอานาปานะนั้น เราจึงเพิกเอากสิณออกได้.
               พระจูฬานาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก กล่าวค้านว่า ไม่ได้เลย. อย่าเลย ขอรับ แล้วทำไม เราจึงจะถือเอาชนิดอันมีฤทธิ์ของพระอริยะเป็นต้นนี้ได้เล่า.
               เพื่อชี้ถึงอานิสงส์ คือ ภิกษุต้องการฤทธิ์ที่เป็นอริยะก็ดี รูปาวจรฌานสี่ก็ดี อรูปสมาบัติสี่ก็ดี นิโรธสมาบัติก็ดี ต้องทำความสนใจสมาธิที่เกี่ยวกับความระลึกอานาปานนี้ให้ดี.
               เหมือนเมื่อได้กรุงแล้ว ของสิ่งใดที่ต้องใช้ความขยันจึงจะได้มาในทิศทั้งสี่ ของสิ่งนั้นก็ย่อมเข้าสู่กรุงโดยประตูทั้งสี่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทั้งชนบทด้วย นี้แลเป็นอานิสงส์ของกรุงนั่นเทียวฉันใด ชนิดมีอริยฤทธิ์เป็นต้นนี้ก็ฉันนั้น เป็นอานิสงส์ของอานาปานัสสติสมาธิภาวนา เมื่อได้เจริญอานาปานัสสติสมาธิโดยอาการทั้งหมดแล้ว สิ่งทั้งหมดนี้ก็ย่อมสำเร็จแก่พระโยคีฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้เพื่อชี้ถึงอานิสงส์.
               ทำไมในคำว่า สุขญฺเจ นี้ (ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา) ท่านจึงกล่าวว่า โส (แปลว่า เขาผู้นั้น...) เพราะในวาระนี้ คำว่า ภิกษุ มิได้มา.

               จบอรรถกถาทีปสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุตต์ เอกธรรมวรรคที่ ๑ ๘. ทีปสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1321อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1327อ่านอรรถกถา 19 / 1348อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7722&Z=7793
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7485
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7485
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :