ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 608อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 620อ่านอรรถกถา 18 / 623อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์
๙. กุลสูตร

               อรรถกถากุลสูตรที่ ๙               
               ในกุลสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้ยาก.
               บทว่า ทฺวีหิติกา ความว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ว่า พวกเราจักมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หนอ. ปาฐะว่า ทุหิติกา ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนี้แหละ ชื่อว่า ทุหิติกา ในข้อว่าเป็นอยู่ลำบาก นี้เพราะไม่อาจประกอบการงานอะไรๆ ได้สะดวก
               ชื่อว่า เสตฏฺฐิกา เพราะมีกระดูกของคนที่ตายในที่นั้นๆ ขาวเกลื่อนกลาด.
               บทว่า สลากวุตฺตา ได้แก่ มีชีวิตอยู่ได้เพียงใช้สลาก (บัตรปันส่วน) คือความเป็นอยู่ในนาฬันคามนั้น เพียงใช้สลากเท่านั้น. อธิบายว่า ให้เกิดผล.
               บทว่า อุคฺคิลิตุํ ความว่า เมื่อพระสมณโคดมไม่อาจกล่าวแก้เงื่อนทั้งสองได้ ชื่อว่าไม่อาจคาย คือนำออกนอก.
               บทว่า โอคิลิตุํ ความว่า เมื่อทรงเห็นโทษของคำถามแล้วไม่อาจนำเข้าไป ชื่อว่าไม่อาจกลืนคือให้เข้าไปภายใน.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า อิโต โส คามณิ เอกนวุโต กปฺโป เท่านั้น ก็ทรงระลึกไป ๙๑ กัป ชั่วเวลาที่ลมหายใจออกจากจมูกแล้วยังไม่กลับเข้าไป เพื่อกำหนดรู้ว่า ในตระกูลที่เคยถูกเบียดเบียนด้วยการให้ภิกษาที่สุกแล้วมีบ้างไหมหนอ ถึงอย่างนั้น ก็มิได้ทรงเห็นแม้แต่รายเดียว จึงตรัสพระพุทธพจน์เป็นต้นว่า อิโต โส คามณิ ดังนี้.
               บัดนี้ เมื่อตรัสอานิสงส์ของทานเป็นต้น จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนาว่า อถโข ยานิ ตานิ กุลานิ อทฺธานิ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานสมฺภูตานิ แปลว่า เป็นพร้อม คือบังเกิดเพราะการให้ทาน.
               แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ก็ในบทนี้ ความเป็นคนพูดจริง ชื่อสัจจะ ศีลที่เหลือ ชื่อสัญญมะ.
               บทว่า วิกิรติ ความว่า เมื่อได้แต่ใช้โดยไม่ประกอบการงาน ย่อมทำทรัพย์ให้กระจุยกระจาย.
               บทว่า วิธมติ ความว่า ย่อมให้พินาศเหมือนจุดไฟเผา.
               บทว่า วิทฺธํเสติ ความว่า ให้พินาศ คือเป็นของเที่ยงคงที่หามิได้ หรือทรัพย์ที่ใช้เวลาเป็นอันมากเก็บรวบรวมไว้ อันตรธานไปชั่วขณะเท่านั้น เพราะมีแล้วไม่มี.

               จบอรรถกถากุลสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์ ๙. กุลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 608อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 620อ่านอรรถกถา 18 / 623อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=8173&Z=8227
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3672
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3672
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :