ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 586อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 589อ่านอรรถกถา 18 / 593อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์
๒. ตาลปุตตสูตร

               อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒               
               ในตาลปุตตสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ตาลปุตฺโต คือ เขามีชื่ออย่างนั้น.
               เล่ากันมาว่า นายบ้านนักฟ้อนรำคนนั้น มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนลูกตาลสุกที่หลุดจากขั้ว. ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า ตาลบุตร.
               นายตาลบุตรผู้นี้นั้น เขาถึงพร้อมด้วยอภินิหาร (บุญเก่า) เป็นบุคคลเกิดในภพสุดท้าย(ไม่ต้องเกิดอีก). แต่เพราะธรรมดาปฏิสนธิเอาแน่นอนไม่ได้ เหมือนท่อนไม้ที่ขว้างไปในอากาศ ฉะนั้น นายตาลบุตรนี้จึงบังเกิดในตระกูลนักฟ้อนรำ. พอเจริญวัยก็เป็นยอดทางนาฏศิลป ศิลปฟ้อนรำ มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป.
               เขามีเกวียน ๕๐๐ เล่ม มีหญิงแม่บ้าน ๕๐๐ คนเป็นบริวาร แม้เขาก็มีภรรยาจำนวนเท่านั้น ดังนั้น เขาจึงพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คนและเกวียน ๑,๐๐๐ เล่มอยู่อาศัยนครหรือนิคมใดๆ ประชาชนในนครหรือนิคมนั้นๆ พากันให้ทรัพย์แสนหนึ่งแก่เขาก่อนทีเดียว.
               เมื่อเขาแต่งตัวแสดงมหรสพกำลังเล่นกีฬาพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คนอยู่ ประชาชนต่างโยนเครื่องประดับมือเท้าเป็นต้น ตบรางวัลให้ไม่มีสิ้นสุด. วันนั้น เขาแวดล้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คนเล่นกีฬาในกรุงราชคฤห์ เพราะมีญาณแก่กล้า พร้อมด้วยบริวารทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
               บทว่า สจฺจาลิเกน ได้แก่ ด้วยคำจริงบ้าง ด้วยคำเท็จบ้าง.
               บทว่า ติฏฺฐเตตํ ความว่า ข้อนั้นจงพักไว้.
               บทว่า รชนิยา ได้แก่ มายากลแสดงลมเจือฝนพัดด้ายห้าสีออกจากปาก ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งราคะ และนัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างอื่นซึ่งแสดงอาการที่ประกอบด้วยความยินดีในกาม.
               บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย ได้แก่ โดยประมาณยิ่ง.
               บทว่า โทสนิยา ได้แก่ อาการที่แสดงมายากลมีการตัดมือและเท้าเป็นต้นซึ่งเป็นปัจจัยแห่งโทสะ.
               บทว่า โมหนิยา ได้แก่ มายากลชนิดเอาน้ำทำน้ำมัน เอาน้ำมันทำน้ำอย่างนี้เป็นต้นซึ่งเป็นเป็นปัจจัยแห่งโมหะ.
               บทว่า ปหาโส นาม นิรโย ความว่า ธรรมดานรกที่ชื่อว่า ปหาสะ มิได้มีเป็นนรกหนึ่งต่างหาก แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่นเอง ที่พวกสัตว์แต่งตัวเป็นนักฟ้อนรำ ทำเป็นฟ้อนรำและขับร้องพากันหมกไหม้อยู่ ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น.
               ในบทว่า นาหํ ภนฺเต เอตํ โรทามิ นี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจสกรรมกิริยาอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าข้อนั้น พระเจ้าข้า.
               อนึ่ง ในข้อว่า ชนทั้งหลายปรารภถึงคนตายมีน้ำตาไหลร้องไห้เป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นอีกโวหารหนึ่ง.

               จบอรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์ ๒. ตาลปุตตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 586อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 589อ่านอรรถกถา 18 / 593อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=7768&Z=7822
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3588
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3588
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :