ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 513อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 515อ่านอรรถกถา 18 / 537อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
โมคคัลลานสังยุตต์

               อรรถกถาโมคคัลลานสังยุต               
               อรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสังยุต ดังต่อไปนี้.
               บทว่า กามสหคตา คือ ประกอบนิวรณ์ ๕ ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากปฐมฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ปรากฏแล้ว โดยความสงบมีอยู่ ด้วยเหตุนั้น ปฐมฌานนั้นของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่ามีส่วนแห่งความเสื่อม. พระศาสดาทรงทราบความประมาทนั้นแล้ว จึงได้ประทานพระโอวาทว่า อย่าประมาท.
               จบอรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒               
               แม้ในทุติยฌานเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยนัยนี้แล.
               ก็ในข้อนี้ ฌานอันประกอบด้วยอารมณ์เท่านั้น ท่านกล่าวว่า สหคตํ ดังนี้.
               จบอรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙               
               บทว่า อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา. สมาธิที่ละนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป.
               บทว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้ วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียด นำไปอยู่. เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คมดี ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า ขวานของเราคมจริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้พระเถระปรารภวิปัสสนาด้วยคิดว่า ญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้นก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้ฉันนั้น. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺญาณํ โหติ.
               บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ อมนสิการา อนิมิตฺตํ เจโตสมาธิ อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ความว่า เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตนทั้งปวงอยู่แล้ว.
               จบอรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐               
               บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว.
               บทว่า ทสหิ ฐาเนหิ คือ ด้วยเหตุ ๑๐.
               บทว่า อธิคณฺหนฺติ คือ ย่อมครอบงำ คือล่วงเกิน.
               คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.
               จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐               

               จบอรรถกถาโมคคัลลานสังยุต               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. สวิตักกสูตร [สวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑]
                         ๒. อวิตักกสูตร [อวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒]
                         ๓. สุขสูตร
                         ๔. อุเปกขสูตร
                         ๕. อากาสานัญจายตนสูตร
                         ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
                         ๗. อากิญจัญญายตนสูตร
                         ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
                         ๙. อนิมิตตสูตร [อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙]
                         ๑๐. สักกสูตร
                         ๑๑. จันทนสูตร ฯ
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค โมคคัลลานสังยุตต์ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 513อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 515อ่านอรรถกถา 18 / 537อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=6846&Z=7183
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3301
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3301
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :