ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 408อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 409อ่านอรรถกถา 18 / 425อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เวทนาสังยุตต์ รโหคตวรรคที่ ๒
๙. ปัญจกังคสูตร

               อรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกังคสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า ปญฺจกงฺโค ในบทว่า ปญฺจกงฺโค ฐปติ เป็นชื่อของช่างไม้นั้น.
               อนึ่ง ช่างไม้นั้นปรากฏชื่อว่าปัญจังคะ เพราะประกอบด้วยองค์ ๕ กล่าวคือมีด ขวาน สิ่ว ไม้ค้อน กระปุกด้ายเส้นบรรทัด.
               บทว่า ฐปติ คือ ช่างไม้ผู้เป็นหัวหน้า.
               บทว่า อุทายิ คือ พระอุทายีเถระผู้บัณฑิต.
               บทว่า ปริยายํ คือ เหตุ.
               บทว่า เทฺววานนฺท คือ ดูก่อนอานนท์เวทนา ๒ ก็มี.
               บทว่า ปริยาเยน คือ โดยเหตุ.
               ส่วนในที่นี้ พึงทราบเวทนา ๒ ด้วยสามารถทางกายและทางจิต. แม้เวทนา ๓ ด้วยสามารถสุขเป็นต้น. เวทนา ๕ มีสุขินทรีย์เป็นต้นด้วยสามารถอินทรีย์. เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเป็นต้นด้วยสามารถทวาร. เวทนา ๑๘ มีเป็นอาทิว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไตร่ตรองซึ่งรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสด้วยสามารถการไตร่ตรอง
               พึงทราบเวทนา ๓๖ อย่างนี้ คือโสมนัสอาศัยเรือน ๖, อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖. โทมนัสอาศัยเรือน ๖, อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖. อุเบกขาอาศัยเรือน ๖, อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖.
               พึงทราบ เวทนา ๑๐๘ อย่างนี้ คือ เวทนาเหล่านั้น ในอดีตมี ๓๖, ในอนาคตมี ๓๖, ในปัจจุบันมี ๓๖.
               บทว่า ปญฺจิเม อานนฺท กามคุณา นี้เป็นอนุสนธิเฉพาะอย่างหนึ่ง.
               ที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเวทนา ๒ ให้เป็นต้น ทรงบัญญัติเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้. โดยปริยาย ตรัสเวทนาอย่างเดียวก็มี เมื่อจะทรงแสดงเวทนานั้น จึงทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อส่งเสริมวาทะของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ.
               บทว่า อภิกฺกนฺตตรํ คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตรํ คือ ยิ่งกว่า.
               ในข้อนี้อทุกขมสุขเวทนา ท่านกล่าวว่าสุข ด้วยอรรถว่าสงบและประณีต. จำเดิมแต่จตุตถฌาน นิโรธ ชื่อว่าเป็นสุข ด้วยสามารถมิได้เสวยอารมณ์. ด้วยว่า ชื่อว่าสุขอันเสวยอารมณ์เกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถกามคุณ ๕ และด้วยสามารถสมาบัติ ๘. นิโรธ ชื่อว่าสุขอันมิได้เสวยอารมณ์แล้ว. สุขเสวยอารมณ์ก็ตาม มิได้เสวยอารมณ์ก็ตาม ก็ชื่อว่าสุขโดยส่วนเดียวแท้ ด้วยอรรถว่าเป็นสุข กล่าวคือความไม่มีทุกข์.
               บทว่า ยตฺถ ยตฺถ คือ ในฐานะใด.
               บทว่า สุขํ อุปลพฺภติ ความว่า บุคคลย่อมได้สุขอันเสวยอารมณ์หรือสุขอันมิได้เสวยอารมณ์ พระตถาคตย่อมบัญญัติสุขนั้นๆ ลงในสุข.
               พระตถาคตย่อมบัญญัติสุขนั้นทั้งหมดซึ่งไม่มีความทุกข์ลงในสุขเท่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธานในที่นี้แล้ว จึงทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยธรรมคือยอดพระอรหัตอย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้พอแนะนำได้.

               จบอรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เวทนาสังยุตต์ รโหคตวรรคที่ ๒ ๙. ปัญจกังคสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 408อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 409อ่านอรรถกถา 18 / 425อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=5946&Z=6066
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3089
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3089
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :