ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 346อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 351อ่านอรรถกถา 18 / 359อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อาสีวิสวรรคที่ ๔
๑๑. ยวกลาปิสูตร-๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร

               อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ ๑๑               
               ในยวกลาปิสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ยวกลาปิ ได้แก่ ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาเกี่ยววางไว้.
               บทว่า พฺยภงฺคิหตฺถา ความว่า มีไม้คานหาบในมือ.
               บทว่า พฺยาภงฺคีหิ หเนยฺยุํ ความว่า ฟาดด้วยไม้คานหาบที่หนาๆ ๖ คาน.
               บทว่า สตฺตโม ความว่า เมื่อคนทั้ง ๖ คนเหล่านั้นนวดข้าวเหนียว๑- บรรจุเต็มกระสอบแล้วไป คนที่ ๗ อีกคนก็มา.
____________________________
๑- ปาฐะว่า ลายิตฺวา ฉบับพม่าเป็น โปเถตฺวา แปลตามฉบับพม่า.

               บทว่า สุหตตรา อสฺส ความว่า เขาฟาดให้แหลกเพื่อถือเอาสิ่งที่เหลืออยู่ในฟ่อนข้าวนั้น แม้เพียงแกลบและฟาง.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอธิบายว่า อายตนะ ๖ พึงเห็นเหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง สัตว์ (ผู้ที่เป็นเจ้าของอายตนะ) พึงเห็นเหมือนฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาเก็บไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง.
               อารมณ์ ๑๘ คือ อิฏฐารมณ์ ๖ อนิฏฐารมณ์ ๖ มัชฌัตตารมณ์ ๖ พึงเห็นเหมือนไม้คานหาบทั้ง ๖ คาน กิเลสที่ปรารถนาภพ พึงเห็นเหมือนไม้คานหาบที่ ๗. ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาวางไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อมถูกไม้คานหาบ ๖ คานฟาดฉันใด
               สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกท่อนไม้คืออารมณ์ทั้ง ๑๘ กระทบกระทั่งที่อายตนะทั้ง ๖.#- สัตว์ทั้งหลายถูกกิเลสที่ปรารถนาภพ กระทบกระทั่งจนอานแล้วเสวยทุกข์มีภพเป็นมูลเหมือนสัตว์ที่ถูกไม้คานหาบคานที่ ๗ ฟาดกระหน่ำให้แหลกฉะนั้น.
____________________________
#- ปาฐะว่า อารมฺมณกณฺฏเกหิ ฉบับพม่าเป็น อารมฺมณทณฺฑเกหิ แปลตามฉบับพม่า.
               จบอรรถกถายวกลาปิสูตรที่ ๑๑               

               อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒#-               
#- สูตรที่ ๑๒ อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ ๑๑ ในที่นี้แยกไว้ต่างหาก
               บัดนี้เพื่อจะแสดงกิเลสที่ปรารถนาภพนั้น ของสัตว์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภุตปุพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
               บทว่า ตตฺร โยค เทวสภายํ เป็นสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ในเทวสภานั้น). อธิบายว่า ใกล้ประตูเทวสภา ชื่อว่าสุธรรมา.
               ด้วยบทว่า ธมฺมิกา โข เทวา นี้ ท้าวเวปจิตติผู้เป็นอสุราธิบดี กล่าวหมายเอาทวยเทพเหล่านี้ผู้ทรงธรรม ซึ่งจับอสุราธิบดีผู้เช่นเราด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้ว แต่ไม่ทำแม้เพียงการทำลายเรา.
               ด้วยบทว่า อธมฺมิกา เทวา ท้าวเวปจิตติ กล่าวหมายเอาทวยเทพเหล่านี้ผู้ไม่ทรงธรรม ซึ่งจับอสุราธิบดีผู้เช่นเราแล้ว จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้วให้นอนอยู่ เหมือนผูกหมูไว้กับคูถใหม่ฉะนั้น.
               บทว่า เอวํ สุขุมํ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติพนฺธนํ ความว่า ดูเหมือนว่า เครื่องผูกนั้นเป็นเครื่องผูกที่ละเอียด เหมือนกับใยก้านปทุมและเหมือนใยตาข่ายแมงมุม แต่ใครๆ ไม่อาจตัดได้ด้วยมีดและขวานได้ แต่เพราะเหตุนี้มีการก่อกำเนิดขึ้นด้วยจิตนั่นเองและจะหลุดพ้นก็ด้วยจิต ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า เครื่องผูกของอสูรชื่อเวปจิตติ.
               บทว่า ตโต สุขุมตรํ มารพนฺธนํ ความว่า แต่เครื่องผูกคือกิเลสนี้ละเอียดกว่าเครื่องผูกของท้าวเวปจิตตินั้น คือไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ (ไม่ผ่านตา) ได้แก่ไม่ปิดกั้นอิริยาบถไว้ เนื่องด้วยสัตว์ทั้งหลายถูกเครื่องผูกคือกิเลสผูกมัดไว้ จะไปก็ได้ มาก็ได้ ในพื้นปฐพีบ้าง บนอากาศบ้าง ไกล ๑๐๐ โยชน์ก็มี ๑,๐๐๐ โยชน์ก็มี เพราะเครื่องผูกนี้เมื่อจะขาดก็ขาดด้วยญาณ ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเครื่องผูกที่จะหลุดพ้นไปได้ด้วยญาณบ้าง.
               บทว่า มญฺญมาโน ความว่า สำคัญ (ยึดถือ) อยู่ซึ่งขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจ ตัณหา ทิฏฐิและมานะ.
               บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า ถูกผูกด้วยเครื่องผูกของมาร.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มารสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถของตติยาวิภัตติ หมายความว่า ถูกผูกมัดไว้ด้วยกิเลสมาร.
               บทว่า มุตฺโต ปาปิมโต ความว่า พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร.
               อีกอย่างหนึ่งคำว่า ปาปิมโต นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถ๑- ของตติยาวิภัตติเหมือนกัน. หมายความว่า หลุดพ้นแล้วจากมารผู้ลามก คือจากเครื่องผูก คือกิเลสนั่นเอง.
____________________________
๑- ปาฐะว่า กรเณเยว ฉบับพม่าเป็น กรณตฺเตเยว แปลตามฉบับพม่า.

               ด้วยบทว่า อสฺมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา.
               ด้วยบทว่า อยหมสฺมิ ตรัสความสำคัญทิฏฐิด้วยอำนาจ สัสสตทิฏฐิเหมือนกัน.
               ด้วยบทว่า น ภวิสฺสนฺติ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอุจเฉททิฏฐิ.
               บทว่า รูปี เป็นต้น บ่งถึงประเภทของสัสสตทิฏฐินั่นเอง.๒-
____________________________
๒- ปาฐะว่า สสฺสตวเสน ฉบับพม่าเป็น สสฺสตสฺเสว แปลตามฉบับพม่า.

               บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ความสำคัญที่เป็นความเจ็บป่วย ชื่อว่าเป็นทั้งโรค เป็นทั้งฝี เป็นทั้งลูกศร เพราะอำนาจความใคร่ที่มีโทษะอยู่ภายใน
               คำว่า อิญฺชิตํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงอาการของตัณหาและสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายหวั่นไหว ดิ้นรน ชักช้าและถึงอาการประมาทแล้ว๓- ด้วยกิเลสเหล่านี้.
____________________________
๓- ปาฐะว่า สมคฺคา การํปตฺตา ฉบับพม่าเป็น ปมตฺตาการปตฺตา แปลตามฉบับพม่า.

               แต่ในมานคตวาระ มีอรรถาธิบายว่า การไปของมานะ ชื่อว่ามานคตะ ได้แก่เป็นไปด้วยมานะ.๔- มานคตะ๕- ก็คือมานะนั่นเอง เหมือน (คำว่า) คูถคตะ มุตฺตคตะ (ก็เท่ากับคูถะมุตะ)
____________________________
๔- ปาฐะว่า มานํ ปวตฺตติ ฉบับพม่าเป็น มานํ ปวตฺตติ แปลตามฉบับพม่า.
๕- ปาฐะว่า คตํ ฉบับพม่าเป็น มานคตํ แปลตามฉบับพม่า.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺมิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจมานะที่สัมปยุตด้วยตัณหา (หมายถึงมานะประกอบกับตัณหา)
               บทว่า อหมสฺมิ ตรัสไว้ด้วยอำนาจทิฏฐิ (ทรงหมายถึงทิฏฐิอย่างเดียว).
               ถ้าจะมีคำถามว่า มานะ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทิฏฐิไม่มี ไม่ใช่หรือ.
               ตอบว่า เออ ไม่มี แต่เพราะยังละมานะไม่ได้ ขึ้นชื่อว่าทิฏฐิ จึงยังมีอยู่. คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาทิฏฐิที่มีมานะเป็นมูล.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นดังนี้แล.

               จบอรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒               
               จบอาสีวิสวรรคที่ ๔               
               จบอรรถกถาสฬายตนสังยุตต์               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อาสีวิสสูตร
                         ๒. รถสูตร
                         ๓. กุมมสูตร
                         ๔. ทารุขันธสูตรที่ ๑
                         ๕. ทารุขันธสูตรที่ ๒
                         ๖. อวัสสุตสูตร
                         ๗. ทุกขธรรมสูตร
                         ๘. กึสุกสูตร
                         ๙. วีณาสูตร
                         ๑๐. ฉัปปาณสูตร
                         ๑๑. ยวกลาปิสูตร
                         ๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร
               -----------------------------------------------------               

               รวมวรรคที่มีในจตุปัณณาสก์ คือ
                         ๑. นันทิขยวรรค
                         ๒. สัฏฐินยวรรค
                         ๓. สมุททวรรค
                         ๔. อาสีวีสวรรค
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อาสีวิสวรรคที่ ๔ ๑๑. ยวกลาปิสูตร-๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 346อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 351อ่านอรรถกถา 18 / 359อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=5392&Z=5492
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2913
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2913
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๖๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :