ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 300อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 303อ่านอรรถกถา 18 / 305อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ สมุททวรรคที่ ๓
๘. อาทิตตปริยายสูตร

               อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘               
               ในอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อนุพฺยญฺชโส นิมิตฺตคฺคาโห ความว่า ถือเอาโดยนิมิต โดยแยกถือเป็นส่วนๆ อย่างนี้ว่า มืองาม เท้างาม ดังนี้.
               ก็บทว่า นิมิตฺตคฺคาโห ได้แก่ รวมถือเอา.
               บทว่า อนุพฺยญฺชคฺคาโห ได้แก่ แยกถือเอา.
               การถือเอาโดยนิมิตก็เช่นเดียวกับร่างจระเข้ ย่อมถือเอาทั้งหมดทีเดียว. การถือเอาโดยอนุพยัญชนะแยกถือเอาส่วนนั้นๆ บรรดาส่วนทั้งหลายมีมือและเท้าเป็นต้น. ก็การถือเอานิมิตทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมได้แม้ในชวนะวาระเดียว. ในชวนะวาระต่างๆ ไม่จำต้องกล่าวถึง.
               บทว่า นิมิตฺตสฺสาเทคธิตํ ได้แก่ เจริญ คือติดพันด้วยความยินดีในนิมิต.
               บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ.
               บทว่า ตสฺมึ เจ สมเย กาลํ กเรยฺย ความว่า ใครๆ ที่ชื่อว่ากำลังกระทำกาละด้วยจิตอันเศร้าหมอง มีอยู่หามิได้. ด้วยว่าสัตว์ทั้งปวงย่อมทำกาละด้วยภวังคจิตเท่านั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงภัยแห่งกิเลส จึงตรัสอย่างนั้น.
               อนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งสมัย.
               จริงอยู่ เมื่ออารมณ์มาปรากฏในจักขุทวาร ราคจิตจิตที่กำหนัด ทุฏฐจิตจิตขัดเคือง หรือมุฬหจิตจิตที่ลุ่มหลง ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์หยั่งลงสู่ภวังคจิตอยู่ในภวังคจิตแล้ว ย่อมกระทำกาลกิริยา. ในสมัยนั้น บุคคลผู้ทำกาละ พึงหวังคติเป็นสอง.
               คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจสมัยอันนี้.
               บทว่า อิมํ ขฺวาหํ ภิกฺขเว อาทีนวํ ความว่า เราพิจารณาเห็นทุกข์อันสัตว์พึงเสวยในนรกหลายแสนปีนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราประสงค์เอาการใช้ซี่เหล็กอันร้อนทะลวงนัยน์ตา.
               พึงทราบอรรถในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
               บทว่า อโยสํกุนา ได้แก่ หลาวเหล็ก.
               บทว่า สมฺปลิมฏฺฐํ ความว่า โสตินทรีย์ ชื่อว่าอันภิกษุยอนแล้ว ด้วยอำนาจแทงช่องหูทั้ง ๒ แล้วตอกลงที่แผ่นดิน.
               ในวารที่ ๓ (ฆานินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมฺปลิมฏฺฐํ (ฆานินทรีย์) อันภิกษุคว้านแล้ว โดยสอดมีดตัดเล็บเข้าไปแล้วงัดขึ้นให้หลุดตกไปพร้อมด้วยดั้งจมูก.
               ในวาระที่ ๔ (ชิวหินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมฺปลิมฏฺฐํ ความว่า (ชิวหินทรีย์) อันภิกษุตัดแล้ว โดยตัดโคนลิ้นที่ต่อให้ตกไป.
               ในวาระที่ ๕ (กายินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมฺปลิมฏฺฐํ ความว่า (กายินทรีย์) อันภิกษุแทงแล้ว โดยใช้มีดอันคมกริบชำแหละกายประสาทขึ้นแล้วให้ตกไป.
               ในบทว่า สตฺติยา นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีดมีด้ามเล่มใหญ่.
               บทว่า โสตฺตํ ได้แก่ นอนหลับ.
               ด้วยบทว่า ยถารูปานํ วิตกฺกานํ วสงฺคโต สงฺฆํ ภินฺเทยฺย ผู้ลุอำนาจวิตกเห็นปานใดพึงทำลายสงฆ์นี้ พระองค์ทรงแสดงว่าวิตกทั้งหลายนำมาซึ่งบาปกรรมตลอดจนถึงสังฆเภท.
               คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ สมุททวรรคที่ ๓ ๘. อาทิตตปริยายสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 300อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 303อ่านอรรถกถา 18 / 305อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=4669&Z=4738
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1274
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1274
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :