ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 183อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 187อ่านอรรถกถา 18 / 189อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ โลกกามคุณวรรคที่ ๒
๘. ราหุลสูตร

               อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘               
               ในราหุลสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า วิมุตฺติปริปาจนียา ความว่า ชื่อว่า วิมุตฺติปริปาจริยา เพราะอรรถว่าบ่มวิมุตติ.
               บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรม ๑๕ ธรรมเหล่านั้นพึงทราบโดยกระทำสัทธินทรีย์เป็นต้นให้หมดจด
               สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
               เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาสัมปสาทนียสูตรทั้งหลาย สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.
               เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร พิจารณาสัมมัปปธานสูตร วิริยินทรีย์ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.
               เมื่อเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เสพ คบเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น พิจารณาสติปัฏฐานสูตร สตินทรีย์ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.
               เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เสพ คบเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา พิจารณาญาณจริยาการบำเพ็ญญาณอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.
               ดังนั้น เมื่อบุคคลเว้นบุคคล ๕ จำพวก เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก พิจารณากองแห่งสุตตันตะ ๕ ปัญจินทรีย์เหล่านี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้แล.๑-
____________________________
๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๔๒๔

               ธรรม ๑๕ อีกหมวดหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่าวิมุตติปริปาจริยา ธรรมบ่มวิมุตติ คือ
               อินทรีย์ ๕
               สัญญาอันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ๕ คืออนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา สัญญาในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑
               และธรรม ๕ มีกัลยาณมิตตตาที่ตรัสแก่พระเมฆิยเถระ.
               ถามว่า ก็ในเวลาไรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริดังนี้.
               แก้ว่า ในเวลาใกล้รุ่ง พระองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลก.
               บทว่า อเนกานิ เทวตาสหสฺสานิ ความว่า ก็ในบรรดาเทวดาผู้ตั้งความปรารถนากับท่านพระราหุลผู้ตั้งความปรารถนา ในรัชกาลแห่งพระเจ้าปาลิตนาคราช แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บางพวกเกิดเป็นภุมมัฏฐกเทวดา บางพวกเกิดเป็นอันตลิกขัฏฐเทวดา บางพวกเกิดเป็นจาตุมหาราชกเทวดา บางพวกเกิดในเทวโลกบางพวกเกิดในพรหมโลก. ก็ในวันนี้ เทวดาทั้งหมดประชุมกันในอันธวันนั้นเอง ในที่แห่งหนึ่ง.
               บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ความว่า ในพระสูตรนี้ มรรค ๔ ผล ๔ พึงทราบว่า ธรรมจักขุ. จริงอยู่ในพระสูตรนั้น เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกพระอนาคามี บางพวกพระขีณาสพ.
               อนึ่ง เทวดาเหล่านั้นนับไม่ได้ว่า มีประมาณเท่านี้.
               คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ โลกกามคุณวรรคที่ ๒ ๘. ราหุลสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 183อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 187อ่านอรรถกถา 18 / 189อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=2697&Z=2785
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=900
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=900
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :