ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 123อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 124อ่านอรรถกถา 18 / 128อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉันนวรรคที่ ๔
๑๐. ทวยสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐               
               ในทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อิตฺเถตํ ทฺวยํ เป็น เอวเมตํ ทฺวยํ แปลว่า ทั้ง ๒ นี้ด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า จลญฺเจว พฺยาธิญฺจ ความว่า ย่อมหวั่นไหวและเจ็บป่วย เพราะไม่เป็นไปตามสภาวะของตน.
               บทว่า โยปิ เหตุ โยปิ ปจฺจโย ความว่า วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ.
               บทว่า จกฺขุโต นิจฺจํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นของเที่ยง เพราะเหตุไร. เหมือนอย่างว่าบุตรผู้เกิดในท้องของทาสีของชายผู้เป็นทาส ก็กลายเป็นทาสคนหนึ่งไปฉันใด วัตถารมณ์ วัตถุและอารมณ์ ก็เป็นของไม่เที่ยงเช่นนั้นเหมือนกัน.
               บทว่า สงฺคติ แปลว่า มาประจวบเข้า. บทว่า สนฺนิปาโต ได้แก่ ประชุมรวมกัน.
               บทว่า สมวาโย ได้แก่ มารวมเป็นอันเดียวกัน.
               บทว่า อยํ วุจฺจติ จกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ความประจวบด้วยปัจจัยนี้ คือชื่อว่าประจวบกัน ประชุมกัน มาพร้อมกัน โดยชื่อว่าปัจจัยนั่นเอง เพราะเกิดด้วยปัจจัย กล่าวคือความประจวบ ความประชุม และความมาพร้อมกัน นี้เรียกว่า จักขุสัมผัส.
               บทว่า โสปิ เหตุ ความว่า จักษุและอารมณ์ ขันธ์ ๓ ที่เป็นสหชาตธรรม เป็นเหตุแห่งผัสสะ ธรรมดังว่ามานี้ เรียกว่าเหตุ.
               บทว่า ผสฺโส เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า เวทนาย่อมเสวย เจตนาย่อมคิด สัญญาย่อมจำได้ ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้วเท่านั้น
               บทว่า ผุฏฺโฐ ได้แก่ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยผัสสะ. เวทนาอันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า ย่อมคิดก็มี.
               ดังนั้น ในพระสูตรนี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์ ๓๐ ถ้วน.
               อย่างไร.
               คือ อันดับแรก ในจักขุทวาร วัตถุ (จักขุวัตถุ) และอารมณ์จัดเป็นรูปขันธ์, ขันธ์ใดเสวยอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าเวทนาขันธ์. ขันธ์ใดคิดอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้นขันธ์นั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์. ขันธ์ใดจำได้ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสัญญาขันธ์, ขันธ์ใดรู้แจ้งซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์
               แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ แม้ในมโนทวาร วัตถุรูปจัดเป็นรูปขันธ์ โดยส่วนเดียว. เมื่ออารมณ์ คือรูปมีอยู่ แม้อารมณ์ก็จัดเป็นรูปขันธ์ ดังนั้นจึงได้ขันธ์ ๕ ในทวาร ๖ รวมเป็นขันธ์ ๓๐ ถ้วน. แต่เมื่อว่าโดยสังเขป สหชาตธรรมเหล่านี้จัดเป็นขันธ์ ๔ ในทวารทั้ง ๖. เมื่อตรัสขันธ์ ๕ พร้อมด้วยปัจจัย ให้พิสดารว่าไม่เที่ยง เป็นอันทรงแสดงพระสูตรนี้ตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้แล.

               จบอรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐               
               จบฉันนวรรคที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. ปโลกสูตร [ปโลกธรรมสูตรที่ ๑]
                         ๒. สุญญสูตร
                         ๓. สังขิตตสูตร
                         ๔. ฉันนสูตร
                         ๕. ปุณณสูตร
                         ๖. พาหิยสูตร
                         ๗. เอชสูตรที่ ๑
                         ๘. เอชสูตรที่ ๒
                         ๙. ทวยสูตรที่ ๑
                         ๑๐. ทวยสูตรที่ ๒
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ฉันนวรรคที่ ๔ ๑๐. ทวยสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 123อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 124อ่านอรรถกถา 18 / 128อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1690&Z=1744
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=643
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=643
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :