ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 93อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 94อ่านอรรถกถา 17 / 95อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ อัตตทีปวรรคที่ ๕
สมนุปัสสนาสูตร ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕

               อรรถกถาสมนุปัสสนาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺเธ สมนุปสฺสนฺติ เอเตสํ วา อญฺญตรํ ความว่า สมณะหรือพราหมณ์พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ด้วยอำนาจยึดถือขันธ์ที่บริบูรณ์ พิจารณาเห็นบรรดาขันธ์เหล่านั้นด้วยอำนาจยึดถือขันธ์ที่ไม่บริบูรณ์ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง.
               บทว่า อิติ อยญฺเจว สมนุปสฺสนา ความว่า ก็อนุปัสสนานี้ ชื่อว่าทิฏฐิสมนุปัสสนา ด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า อสฺมีติ จสฺส อธิคตํ โหติ ความว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่าง คือตัณหามานะและทิฏฐิว่า เราได้เป็นแล้วในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่างนั้น ซึ่งมีตัวสมนุปัสสนาอยู่ เป็นอันเราบรรลุแล้ว.
               บทว่า ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ อวกฺกนฺติ โหติ ความว่า เมื่อกิเลสชาตนั้นมีอยู่ อินทรีย์ ๕ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งกรรมกิเลส ย่อมบังเกิด.
               คำว่า อตฺถิ ภิกฺขเว มโน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาใจซึ่งมีธรรมเป็นอารมณ์.
               บทว่า ธมฺมา ได้แก่ อารมณ์.
               บทว่า อวิชฺชาธาตุ ได้แก่ อวิชชาในขณะแห่งชวนจิต.
               บทว่า อวิชฺชาสมฺผสฺสเชน ได้แก่ เกิดจากผัสสะอันสัมปยุตด้วยอวิชชา.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มโน ได้แก่ ใจที่มีวิบากเป็นอารมณ์ในขณะแห่งภวังคจิต มโนธาตุฝ่ายกิริยาในขณะแห่งอาวัชชนจิตและธรรมเป็นต้น ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว.
               บทว่า อสฺมีติปิสฺส โหติ ความว่า เขาได้ยึดมั่นอย่างนี้ว่า เราได้เป็นแล้วด้วยอำนาจตัณหามานะทิฏฐิ. นอกจากนี้ คำว่า อยมหมสฺมิ ท่านยึดถือธรรมในอารมณ์มีรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวด้วยอำนาจอัตตทิฏฐิ ถือว่าเป็นตน ว่าเราเป็นนี้.
               คำว่า ภวิสฺสํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ ถือว่าทุกสิ่งเที่ยง.
               คำว่า น ภวิสฺสํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจอุจเฉททิฏฐิ ถือว่าทุกสิ่งขาดสูญ.
               คำทั้งหมดมี รูปี ภวิสฺสํ เป็นต้น หมายเอาสัสสตทิฏฐิเท่านั้น.
               บทว่า อเถตฺถ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คือเมื่ออินทรีย์เหล่านั้นดำรงอยู่โดยประการนั้นนั่นแล.
               บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า เราละอวิชชาอันเป็นตัวไม่รู้ในสัจจะ ๔.
               บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ความว่า วิชชาในอรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้น.
               ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้.
               บทว่า อสฺมิ ได้แก่ ตัณหามานะและทิฏฐิ. อธิบายว่า ระหว่างกรรมกับอินทรีย์ ๕ เป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างอินทรีย์ ๕ นับใจที่มีวิบากเป็นอารมณ์ซึ่งเป็นฝ่ายอินทรีย์ ๕ กับใจที่มีกรรมเป็นอารมณ์เป็นสนธิหนึ่ง.
               ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๓ อย่างจัดเป็นอดีตอัทธา อินทรีย์เป็นต้นจัดเป็นปัจจุบันอัทธา ในอัทธา ๒ อย่างนั้น ท่านแสดงปัจจัยแห่งอนาคตอัทธา เริ่มต้นแต่ใจที่มีกรรมเป็นอารมณ์ด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาสมนุปัสสนาสูตรที่ ๕               
               ---------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ อัตตทีปวรรคที่ ๕ สมนุปัสสนาสูตร ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 93อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 94อ่านอรรถกถา 17 / 95อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=1042&Z=1064
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6520
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6520
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :