ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 215อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 222อ่านอรรถกถา 17 / 225อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔
อัสสชิสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา

               อรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในอัสสชิสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า กสฺสปการาเม ได้แก่ ในอารามที่กัสสปเศรษฐีให้สร้าง.
               บทว่า กายสงฺขาเร ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก. ก็พระอัสสชินั้นระงับลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้นด้วยจตุตถฌานอยู่.
               บทว่า เอวํ โหติ ความว่า บัดนี้ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธินั้น จึงมีความคิดอย่างนี้.
               บทว่า โน จ ขฺวาหํ ปริหายามิ ความว่า เรายังไม่เสื่อมจากพระศาสนา แลหรือหนอแล.
               ได้ยินว่า สมาบัติของท่าน แนบแน่น แน่วแน่แล้ว (เป็นอัปปนา) เสื่อมไป เพราะโทษคืออาพาธ เพราะฉะนั้น ท่านจึงคิดอย่างนี้.
               (ปาฐะว่า ตสฺส กิร อาพาธโทเสน อปฺปิโต สมาปตฺติโต ปริหายิ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส กริ อาพาธโทเสน อปปิตปฺปิตา สมาปตฺติ แปลตามฉบับพม่า.)
               บทว่า สมาธิสารกา สมาธิสามญฺญา ความว่า สมาธินั่นแลเป็นสาระ และเป็นสามัญญผล แต่ในศาสนาของเรา ตถาคต ยังไม่ใช่สาระ วิปัสสนา มรรคและผลเป็นต้น (ต่างหาก) เป็นสาระ เธอนั้นเมื่อเสื่อมจากสมาธิ ไฉนจึงคิดว่า เราเสื่อมจากศาสนา.
               (ปาฐะว่า กสฺมา จินฺเตสิ สมาธิโต สาสนโต ปริหายนฺโต นี้ ไม่มีในฉบับพม่า จึงแปลตามนัยของพม่า)
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นปลอบโยนพระเถระอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงเริ่มแสดงธรรมมีปริวัฏ ๓ แก่พระเถระนั้น จึงตรัสคำว่า ตํ กึ มญฺญสิ เป็นต้น.
               ต่อมา เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องอยู่ประจำแก่พระเถระนั้น ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในเวลาจบเทศนามีปริวัฏ ๓ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส สุขญฺเจ เวทนํ เวทยติ.
               บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนภินนฺทิตา ปชานาติ พึงทราบอธิบายว่า :-
               ถามว่า สุขเวทนามีความเพลิดเพลินยินดี จงยกไว้ก่อนเถิด (ส่วน) ทุกขเวทนามีความเพลิดเพลินยินดี เป็นอย่างไร?
               ตอบว่า บุคคลประสบทุกข์แล้วย่อมปรารถนาสุข ซึ่งก็คือปรารถนาทุกข์นั่นเอง เพราะทุกข์มาถึงเพราะสุขแปรปรวนไป นักศึกษาพึงทราบความเพลิดเพลินยินดีในทุกข์อย่างนี้.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น นั่นแล.

               จบอรรถกถาอัสสชิสูตรที่ ๖               
               -------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ อัสสชิสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 215อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 222อ่านอรรถกถา 17 / 225อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=2800&Z=2857
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7595
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7595
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :