ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 112อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 118อ่านอรรถกถา 17 / 125อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปายวรรคที่ ๑
สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ

               อรรถกถาสัตตัฏฐานสูตรที่ ๕               
               ในสัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า สตฺตฏฺฐานกุสโล ได้แก่ ผู้ฉลาดในโอกาส ๗ ประการ.
               บทว่า วุสิตวา ได้แก่ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์.
               บทว่า อุตฺตมปุริโส ได้แก่ บุรุษผู้ประเสริฐที่สุด.
               คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่นี้นั่นแล.
               แต่พระสูตรนี้พึงทราบว่า ประกอบด้วยความเพลิดเพลินมากและเป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน เหมือนพระราชาชนะสงครามแล้ว สถาปนาเหล่าทหารที่ชนะสงครามไว้ในตำแหน่งสูง แล้วพระราชทานสักการะแก่ทหารเหล่านั้น.
               เพราะเหตุไร? เพราะพวกคนที่เหลือเห็นสักการะของทหารเหล่านั้น จักสำคัญเพื่อเป็นคนกล้าบ้าง ฉันใด
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีตลอดกาลหาประมาณมิได้ ทรงชนะกิเลสมาร ณ มหาโพธิมณฑล ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประทับนั่ง ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี เมื่อจะแสดงพระสูตรนี้ จึงยกพระขีณาสพขึ้นชมเชยสรรเสริญ.
               เพราะเหตุไร? เพราะเสขบุคคลที่เหลือจักสำคัญพระอรหัตตผลว่าควรบรรลุ ด้วยประการฉะนี้.
               พระสูตรนี้ พึงทราบว่า ประกอบด้วยความเพลิดเพลินมาก เพราะพระองค์ทรงยกพระขีณาสพขึ้นสรรเสริญ พึงทราบว่าเป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน เพราะพระเสขะทั้งหลายก็อยากได้.
               ก็ในคำนี้ว่า เอวํโข ภิกฺขเว ภิกฺขุ สตฺตฏฺฐานกุสโล โหติ นี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยการพิจารณามรรคจิตและผลจิตด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ พระองค์ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ติวิธูปปริกฺขี โหติ อีกก็เพื่อทรงแสดงเหตุเป็นเครื่องอยู่ ๗ ประการของพระขีณาสพอย่างนี้ว่า พระขีณาสพย่อมอยู่ด้วยเหตุเป็นเครื่องอยู่ ๗ ประการในอารมณ์ใด อารมณ์นั้นไม่ใช่เป็นสัตว์หรือบุคคล แต่เป็นเพียงธาตุเป็นต้นเท่านั้น และแสดงถึงอาคมนียปฏิปทาว่า ในธรรมเหล่านี้ ธรรมนี้มาเพราะทำกรรม.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโส อุปปริกฺขติ ความว่า เห็น คือตรวจดูโดยความเป็นธาตุ.
               แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

               จบ อรรถกถาสัตตัฏฐานสูตรที่ ๕               
               --------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปายวรรคที่ ๑ สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 112อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 118อ่านอรรถกถา 17 / 125อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=1379&Z=1448
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6698
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6698
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :