ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 355อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 361อ่านอรรถกถา 16 / 364อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒
คิญชกาวสถสูตร

               อรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในคิญชกาวสถสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า ธาตุํ ภิกฺขเว ท่านแสดงว่า ธาตุคืออัธยาศัยจำเดิมแต่นี้.
               บทว่า อุปฺปชฺชติ สญฺญา ความว่า สัญญาย่อมเกิดขึ้น อัธยาศัยทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น วิตกย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย. แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพื่อให้โอกาสแก่กัจจานะนั้นด้วยพระดำริว่า กัจจานะจักถามปัญหา ดังนี้.
               บทว่า อสมฺมาสมฺพุทเธสุ ได้แก่ ในครูทั้งหก.
               บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ความว่า เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ.
               บทว่า กึ ปฏิจฺจ ปญฺญายติ กัจจานะถามทิฏฐิที่เกิดขึ้นแก่ครูทั้งหลายว่า เมื่ออะไรมี ทิฏฐิจึงมี จึงถามทิฏฐิแม้ของสาวกเดียรถีย์ ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธะเหล่านั้น ในบุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธะ.
               บัดนี้ เพราะสาวกเดียรถีย์เหล่านั้นมีทิฏฐิ เพราะอาศัยธาตุคืออวิชชา ก็ธาตุใหญ่ ชื่อว่าธาตุคืออวิชชา ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงอาศัยธาตุใหญ่ ทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐินั้น จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า มหตี โข เอสา.
               บทว่า หีนํ กจฺจาน ธาตุํ ปฏิจฺจ ได้แก่ อาศัยอัธยาศัยเลว.
               บทว่า ปณิธิ แปลว่า ความตั้งจิต. ก็ความตั้งจิตนี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปรารถนาความเป็นหญิง หรือความเป็นดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น.
               บทว่า หีโน ปุคฺคโล ความว่า ธรรมเลวเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด แม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่าเลว.
               บทว่า หีนา วาจา ความว่า วาจาใดเป็นวาจาของบุคคลนั้น แม้วาจานั้นก็จัดว่าเลว.
               บทว่า หีนํ อาจิกฺขติ พึงประกอบบททุกบทว่า บุคคลนั้นแม้เมื่อบอก ก็บอกแต่สิ่งที่เลวเท่านั้น แม้เมื่อแสดง ก็แสดงแต่สิ่งที่เลวเท่านั้น.
               บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ อุปบัติ ๒ อย่างคือ การได้เฉพาะ และการเกิด. การเกิด พึงทราบด้วยอำนาจกุศลที่เลวเป็นต้น การได้เฉพาะ พึงทราบด้วยอำนาจความเลว ๓ หมวด ในขณะจิตตุปบาท.
               ถามว่า อย่างไร.
               ตอบว่า ก็เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล ชื่อว่าการเกิดที่เลว เพราะเกิดในตระกูลแพศย์และศูทร ชื่อว่าปานกลาง เพราะเกิดในตระกูลกษัตริย์และพราหมณ์ ชื่อว่าประณีต.
               ก็เพราะได้เฉพาะอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ ดวง ชื่อว่าการได้ที่เลว เพราะการได้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่าปานกลาง เพราะได้โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่าประณีต. ส่วนในที่นี้ประสงค์เอาการเกิดอย่างเดียว.

               จบอรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒ คิญชกาวสถสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 355อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 361อ่านอรรถกถา 16 / 364อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=4043&Z=4068
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3479
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3479
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :