ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 263อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 268อ่านอรรถกถา 16 / 276อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
โกสัมพีสูตร

               อรรถกถาโกสัมพีสูตรที่ ๘               
               ในโกสัมพีสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อญฺญตฺเรว ความว่า ก็คนบางคนเชื่อต่อผู้อื่น ย่อมยึดถือว่า ข้อที่ผู้นี้กล่าวนั้นเป็นความจริง ย่อมชอบใจเหตุที่ผู้อื่นนั่งคิดอยู่ เขาย่อมยึดถือตามความชอบใจว่านั่นมีได้ คนหนึ่งยึดถือตามที่เล่ากันมาว่า เรื่องเล่าลืออย่างนี้มีมานาน นั่นเป็นความจริง. เมื่อคนอื่นตรึกอยู่ ย่อมปรากฏเหตุเป็นอย่างหนึ่ง เขายึดถือโดยตรึกตามอาการว่านั่นมีได้ ย่อมทนต่อทิฏฐิอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแก่อีกคนหนึ่ง ผู้คิดเพ่งพินิจถึงเหตุอยู่ เขาย่อมยึดถือด้วยความทนต่อการเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิว่า นั่นมีได้.
               แต่พระเถระปฏิเสธเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เมื่อถามถึงภาวะที่แทงตลอดด้วยญาณที่ประจักษ์ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อญฺญตฺเรว อาวุโส มุสิล สทฺธาย ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตฺร ได้แก่ เว้นเหตุมีศรัทธาเป็นต้น. อธิบายว่า เว้นจากเหตุเหล่านั้น.
               บทว่า ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ได้แก่ พระนิพพานคือการดับสนิทแห่งเบญจขันธ์.
               บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระเถระผู้ขีณาสพไม่กล่าวว่า ก็เราเป็นขีณาสพ หรือว่าไม่เป็น ได้แต่นิ่งอย่างเดียว.
               เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า อายสฺมา นารโท อายสฺมนฺตํ ปวิฏฺฐํ เอตทโวจ.
               เพราะเล่ากันมาว่า พระเถระนั้นคิดว่า การดับสนิทแห่งภพ ชื่อว่านิพพาน ปัญหานี้ พระเสขะก็ดี พระอเสขะก็ดี ควรรู้ แต่พระนารทเถระนี้ให้พระปวิฏฐเถระทำด้วยอเสขภูมิ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักให้รู้ฐานะนี้.
               บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย สุทิฏฺฐํ ความว่า เห็นด้วยดีพร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา.
               ด้วยคำว่า น จมฺหิ อรหํ พระเถระแสดงว่า เรามิได้เป็นพระอรหันต์ เพราะยังตั้งอยู่ในอรหัตมรรค. ก็ญาณของท่านในบัดนี้ว่า การดับสนิทแห่งภพ ชื่อว่านิพพานนั้น พ้นจากปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ.
               บทว่า อุทปาโน ได้แก่ บ่อน้ำลึก ๒๐-๓๐ ศอก.
               บทว่า อุทกวารโก ได้แก่ กระบอกรดน้ำ.
               บทว่า อุทกนฺติ หิ โข ญาณํ อสฺส ความว่า เมื่อยืนพิจารณาอยู่ที่ริมฝั่ง พึงมีญาณอย่างนี้.
               บทว่า น จ กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า แต่ไม่สามารถใช้กายนำน้ำออกมาถูกต้องอยู่.
               จริงอยู่ การเห็นพระนิพพานของพระอนาคามี เหมือนการเห็นน้ำในบ่อน้ำ. พระอนาคามีเหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา อรหัตมรรคเหมือนกระบอกน้ำ พระอนาคามีย่อมรู้ว่า ถัดขึ้นไปย่อมมีการบรรลุอรหัตผล ด้วยปัจจเวกขณญาณ เหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา เห็นน้ำในบ่อ.
               อนึ่ง พระอนาคามีย่อมไม่ได้ที่จะทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ นั่งเข้าผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยพระอรหัต เพราะไม่มีอรหัตมรรค เหมือนบุรุษนั้นไม่สามารถจะใช้กายนำน้ำออกมารดตัว เพราะไม่มีกระบอกน้ำฉะนั้น.

               จบอรรถกถาโกสัมพีสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗ โกสัมพีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 263อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 268อ่านอรรถกถา 16 / 276อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=3074&Z=3161
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3106
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3106
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :