ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 164อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 166อ่านอรรถกถา 16 / 169อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ คหบดีวรรคที่ ๕
ญาติกสูตร

               อรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕               
               ในญาติกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ญาติเก ได้แก่ ใกล้บ้านแห่งหมู่พระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย.
               บทว่า คิญฺชกาวสเถ ได้แก่ ในมหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ.
               บทว่า ธมฺมปริยายํ ได้แก่ เหตุแห่งธรรม.
               บทว่า อุปสฺสุติ ได้แก่ เข้าไปยืนแอบฟัง. อธิบายว่า ยืนอยู่ในที่ที่ตนเข้าไปแล้วสามารถได้ยินพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้.
               เล่ากันว่า ภิกษุนั้นมาเพื่อจะกวาดบริเวณพระคันธกุฎี ได้ละทิ้งการงานของตนเสีย แล้วไปยืนฟังเสียงประกาศธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.
               บทว่า อทฺทสา ความว่า เล่ากันว่า ในครั้งนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามนสิการปัจจยาการแต่ต้น ทรงรำพึงว่า "สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้." สังขารได้ปรากฏเป็นกลุ่มเดียวกันจนถึงภวัคคพรหม. พระศาสดาทรงละมนสิการแล้ว เมื่อจะทรงกระทำการสาธยายด้วยพระวาจา ได้ทรงจบพระเทศนาลงตามอนุสนธิ เมื่อทรงพระรำพึงว่า มีใครได้ฟังธรรมปริยายนี้บ้างไหมหนอ จึงได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล.
               บทว่า อสฺโสสิ โน ได้แก่ ได้ฟังแล้วหรือหนอ.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺโสสิ โน ความว่า ได้ฟังแล้วหรือไม่ได้ฟังเราผู้กำลังกล่าวอยู่.
               ในบทว่า อุคฺคณฺหาหิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุฟังนิ่งอยู่ทำให้คล่อง ชื่อว่าย่อมศึกษา. เมื่อสืบต่อบทต่อบททำให้คุ้นเคยด้วยวาจา ชื่อว่าย่อมเล่าเรียน. เมื่อกระทำความคล่องโดยประการทั้งสอง ให้บรรลุความทรงจำได้ ชื่อว่าย่อมทรงจำไว้ได้.
               บทว่า อตฺถสญฺหิโต ได้แก่ อาศัยเหตุ.
               บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่ เป็นที่ประดิษฐานเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.
               วัฏฏะ (ความเวียนว่ายตายเกิด) และวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ คหบดีวรรคที่ ๕ ญาติกสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 164อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 166อ่านอรรถกถา 16 / 169อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=1979&Z=2006
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1895
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1895
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :