ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 933อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 938อ่านอรรถกถา 15 / 943อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒
ตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐

               อรรถกถาตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เพราะเหตุไร มาตลิสังคาหกเทพบุตรนี้จึงได้กล่าวอย่างนี้บ่อยๆ.
               นัยว่า ท้าวสักกะเทวราชมีพระสุรเสียงไพเราะ ในเวลาดำรัสช่องพระทันตสนิท เปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงกระดิ่งทอง. มาตลิสังคาหกเทพบุตรพูดว่า เราจักได้ฟังพระสุรเสียงนั้นบ่อยๆ.
               บทว่า ปูติเทหสยา ความว่า ชื่อว่านอนทับกายเน่าเพราะนอนทับบนร่างกายของมารดาที่เน่า หรือสรีระของตนเอง.
               บทว่า นิมฺมุคฺคา กุณปเสฺมเต คือ คนเหล่านี้จมอยู่ในซาก กล่าวคือท้องมารดาตลอด ๑๐ เดือน.
               บทว่า เอตํ เนสํ ปิหยามิ ได้แก่ เราชอบใจมารยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น.
               บทว่า น เตลํ โกฏฺเฐ โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี.
               บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในหม้อ.
               บทว่า น กโฬปิยํ ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง.
               บทว่า ปรนิฏฺฐิตเมสนา ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้นๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วยภิกขาจารวัตร.
               บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น.
               บทว่า สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้วตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง.
               บทว่า สุมนฺตนฺติโน คือ มีปกติกล่าวคำสุภาษิตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายธรรม จักปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้.
               บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา ความว่า แม้กล่าวธรรมก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง ๓ ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง.
               ถามว่า เพราะเหตุไร.
               ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์.
               บทว่า ปุถุมจฺจา จ ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน.
               บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา ได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญาเสียแล้ว.
               บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.

               จบอรรถกถาตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐               
               จบทุติยวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. ปฐมเทวสูตร
                         ๒. ทุติยเทวสูตร
                         ๓. ตติยเทวสูตร
                         ๔. ทฬิททสูตร
                         ๕. รามเณยยกสูตร
                         ๖. ยชมานสูตร
                         ๗. วันทนสูตร
                         ๘. ปฐมสักกนมัสนสูตร
                         ๙. ทุติยสักกนมัสนสูตร
                         ๑๐. ตติยสักกนมัสนสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ทุติยวรรคที่ ๒ ตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 933อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 938อ่านอรรถกถา 15 / 943อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7613&Z=7659
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8655
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8655
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :