ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 890อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 895อ่านอรรถกถา 15 / 899อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
อารัญญกสูตรที่ ๙

               อรรถกถาอารัญญกสูตรที่ ๙               
               พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ความว่า ฤาษีทั้งหลายอาศัยอยู่ในบรรณศาลา สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้นในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ในหิมวันตประเทศ. เทพทั้งสองเหล่านี้คือ ท้าวสักกะจอมเทพและท้าวเวปจิตติเป็นลูกเขยพ่อตากัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็เที่ยวไปด้วยกัน แต่ในครั้งนี้เที่ยวไปด้วยกัน.
               บทว่า อฏลิโย ได้แก่ รองเท้าหนาหลายชั้น.
               บทว่า ขคฺคํ โอลคฺเคตฺวา ได้แก่ สะพายดาบ.
               บทว่า ฉตฺเตน ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง.
               บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา แปลว่า ห่างไม่ถึงวา.
               บทว่า จิรทกฺขิตานํ แปลว่า ประพฤติพรตมานาน.
               ฤาษีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงถอยไปเสียจากที่นี้ จงเว้นเสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือลม.
               บทว่า น เหตฺถ เทวา ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่. ท่านแสดงไว้ว่า ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาอารัญญกสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

               ๙. อารัญญกสุตตวัณณนา [ฉบับมหาจุฬาฯ]               
               พรรณนาพระสูตรว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในป่า               
               [๒๕๕] ในพระสูตรที่ ๙ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               คำว่า อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ (ปณฺณกุฏึสุ สมฺมนฺติ) ความว่า ฤๅษีทั้งหลายอาศัยอยู่ในบรรณศาลา สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้นในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ในหิมวันตประเทศ
               เทพทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ ท้าวสักกะจอมเทพและท้าวเวปจิตติ เป็นลูกเขยพ่อตากัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็เที่ยวไปด้วยกัน
               คำว่า หนาหลายชั้น (ลฏลิโย) ได้แก่ รองเท้าหนาหลายชั้น
               คำว่า ทรงพระขรรค์ (ขคฺคํ โอลคฺเคตฺวา) ได้แก่ สะพายดาบ
               คำว่า กั้นฉัตรให้ (ฉตฺเตน) ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง
               คำว่า ห่างไม่ถึงวา (อปพฺยามโต กริตฺวา) ได้แก่ ห่างไม่ถึงวา
               คำว่า ผู้ประพฤติพรตมานาน (จิรทกฺขิตานํ) ได้แก่ สมาทานวัตรมานาน ฤๅษีทั้งหลายกล่าวว่า "ท่านจงถอยไปเสียจากที่นี้ จงเว้นเสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือลม"
               คำว่า พวกเทพ ... ในกลิ่นของผู้มีศีลนี้ ... ไม่ (น เหตฺถ เทวา) ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่ ท่านแสดงไว้ว่า "ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น"
               พระสูตรที่ ๙ จบ               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ อารัญญกสูตรที่ ๙ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 890อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 895อ่านอรรถกถา 15 / 899อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7304&Z=7326
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8472
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8472
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :