ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 744อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 747อ่านอรรถกถา 15 / 751อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘

               อรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘               
               ในปโรสหัสสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปโรสหสฺสํ ได้แก่ เกิน ๑,๐๐๐.
               บทว่า อกุโตภยํ ความว่า ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
               จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
               บทว่า อิสีนํ อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี.
               คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น.
               ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจอุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุเหล่านี้รู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ เต วงฺคีส ดังนี้.
               บทว่า อุมฺมคฺคสตํ ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย.
               อนึ่ง ท่านกล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป.
               บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า เที่ยวทำลายกิเลส ๕ อย่างมีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น.
               บทว่า ตํ ปสฺสถ ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้.
               บทว่า พนฺธปมุญฺจกรํ ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก.
               บทว่า อสิตํ ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว.
               บทว่า ภาคโส ปวิภชฺชํ ความว่า ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น.
               ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.
               บทว่า โอฆสฺส ได้แก่ โอฆะ ๔.
               บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มีหลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น.
               บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น.
               บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ ผู้เห็นธรรม.
               บทว่า ฐิตา อสํหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.
               บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว.
               บทว่า สพฺพทิฏฺฐีนํ ได้แก่ ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง.
               บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็นพระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง.
               บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด.
               ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า.
               บทว่า ทสฏฺฐานํ ความว่า ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ ๕ รูป คือปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรมในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์.
               บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น.
               บทว่า อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา ๓.

               จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต ปโรสหัสสสูตรที่ ๘ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 744อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 747อ่านอรรถกถา 15 / 751อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6224&Z=6280
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6849
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6849
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :