ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 727อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 730อ่านอรรถกถา 15 / 733อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต
อรติสูตรที่ ๒

               อรรถกถาอรติสูตรที่ ๒               
               ในอรติสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า นิกฺขมติ ได้แก่ ออกจากวิหาร.
               บทว่า อปรชฺชุ วา กาเล ได้แก่ ในวันที่ ๒ หรือในเวลาภิกษาจาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นเคารพในวิหาร.
               บทว่า อรติญฺจ รติญฺจ ได้แก่ ความไม่ยินดีในศาสนาและความยินดีในกามคุณทั้งหลาย.
               บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺกํ ความว่า และละวิตกลามกซึ่งอาศัยเรือนในกามคุณห้าโดยอาการทั้งปวง.
               บทว่า วนถํ ได้แก่ ป่าใหญ่คือกิเลส.
               บทว่า กุหิญฺจิ ได้แก่ ในอารมณ์ไรๆ.
               บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ผู้ปราศจากป่าคือกิเลส.
               บทว่า อรโต ได้แก่ เว้นจากความยินดีด้วยอำนาจตัณหา.
               บทว่า ปฐวิญฺจ เวหาสํ ความว่า รูปที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ได้แก่รูปหญิงชาย ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น และรูปที่ตั้งอยู่ในอากาศมีแสงจันทร์และอาทิตย์เป็นต้น.
               บทว่า รูปคตํ ได้แก่ รูปนั่นเอง.
               บทว่า ชคโตคธํ ได้แก่ รูปที่อยู่ในแผ่นดิน อธิบายว่า ถึงนาคพิภพภายในแผ่นดิน.
               บทว่า ปริชิยฺยติ ได้แก่ ทรุดโทรม.
               บทว่า สพฺพมนิจฺจํ ความว่า นั้นไม่เที่ยงทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นมหาวิปัสสนาของพระเถระ.
               บทว่า เอวํ สเมจฺจ ได้แก่ มารวมกันอย่างนี้.
               บทว่า จรนฺติ มุตตฺตา ความว่า ผู้มีอัตภาพอันรู้แจ้งแล้วอยู่.
               บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ขันธ์ กิเลสและอภิสังขาร.
               บทว่า คธิตา ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.
               บทว่า ทิฏฺฐสุเต ได้แก่ ในรูปที่จักษุเห็นแล้ว ในเสียงที่โสตะได้ยินแล้ว. กลิ่นและรส ท่านถือเอาด้วยบทว่า ปฏิฆะ. โผฏฐัพพารมณ์ ท่านถือเอาด้วยบทว่า มุตะ ในคำว่า ปฏิเฆ จ มุเต จ นี้.
               บทว่า โย เอตฺถ น ลิมฺปติ ความว่า บุคคลใดไม่ข้องติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านี้ด้วยกิเลส คือตัณหาและทิฏฐิ.
               บทว่า อถ สฏฺฐิสิตา สวิตกฺกา ปุถุชฺชนตาย อธมฺมนิวิฏฺฐา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น วิตกฝ่ายอธรรมเป็นอันมากที่อาศัยอารมณ์ ๖ ก็ตั้งลงในหมู่ชน.
               บทว่า น จ วฏฺฏคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงตกไปในวนคือ กิเลสในที่ไหนๆ ด้วยอำนาจวิตกฝ่ายอธรรมเหล่านั้น.
               บทว่า โน ปน ทุฏฺฐุลฺลภาณี ความว่า ไม่พึงเป็นผู้กล่าววาจาชั่วหยาบ.
               บทว่า ส ภิกฺขุ ความว่า ผู้มีจิตอย่างนี้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นภิกษุ.
               บทว่า ทพฺโพ ได้แก่ บัณฑิตผู้มีชาติแห่งผู้มีปัญญา.
               บทว่า จิรรตฺตสมาหิโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน.
               บทว่า นิปโก ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน คือมีปัญญาแก่กล้า.
               บทว่า อปิหาลุ ได้แก่ ผู้ปราศจากตัณหา.
               บทว่า สนฺตํ ปทํ ได้แก่ พระนิพพาน.
               บทว่า อชฺฌคมา มุนิ ได้แก่ มุนีผู้บรรลุแล้ว.
               บทว่า ปฏิจฺจ ปรินิพฺพุโต กงฺขติ กาลํ ความว่า อาศัยพระนิพพาน ดับด้วยการดับกิเลส รอกาลเป็นที่ปรินิพพาน.

               จบอรรถกถาอรติสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต อรติสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 727อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 730อ่านอรรถกถา 15 / 733อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6022&Z=6058
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6633
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6633
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :