ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 705อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 709อ่านอรรถกถา 15 / 713อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พราหมณสังยุตต์ อุปาสกวรรคที่ ๒
กัฏฐหารสูตรที่ ๘

               อรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ ๘               
               ในกัฏฐหารสูตรที่ ๘ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อนฺเตวาสิกา ได้แก่ มีผู้ทำการขวนขวายเล่าเรียนศิลปะ ชื่อว่าธัมมันเตวาสิก.
               บทว่า นิสินฺนํ ได้แก่ ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีมีวรรณะ ๖.
               บทว่า คมฺภีรรูเป ได้แก่ มีสภาพลึก.
               บทว่า พหุเภรเว ได้แก่ อันน่าสะพึงกลัวมาก เพราะสิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณที่น่าสะพึงกลัวซึ่งอยู่ในที่นั้น.
               บทว่า วิคาหิย ได้แก่ เข้าไปแล้วโดยลำดับ.
               บทว่า อนิญฺชมาเนน เป็นต้นเป็นกายพิเศษ. อธิบายว่าด้วยทั้งกายเห็นปานนี้. ด้วยคำว่า สุจารุรูปํ วต ท่านกล่าวว่า ท่านเพ่งฌานดียิ่งหนอ.
               บทว่า วนวสฺสิโต มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงอาศัยป่า.
               บทว่า อิทํ ความว่า เหตุที่ท่านนั่งในป่าอย่างนี้นี่ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า.
               บทว่า ปีติมโน ได้แก่ ผู้มีจิตยินดี.
               บทว่า วเน วเส ได้แก่ อยู่ในป่า.
               บทว่า มญฺญามหํ ความว่าข้าพเจ้า ย่อมสำคัญ.
               บทว่า โลกาธิปติสหพฺยตํ ได้แก่ ความเป็นสหายของท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลก.
               บทว่า อากงฺขมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่.
               คำว่า ติทิวํ อนุตฺตรํ นี้ ท่านกล่าวหมายพรหมโลกนั่นแหละ.
               บทว่า กสฺมา ภวํ วิชนมรญฺญมสฺสิโต ความว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราเข้าใจว่าท่านหวังพรหมโลกอันดับแรก พราหมณ์ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจงบอกแก่เรา เหตุไร ท่านจึงชอบอยู่ป่า.
               บทว่า พฺรหฺมปตฺติยา แปลว่า เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสริฐในที่นี้ ข้อนี้ พราหมณ์ถามโดยอาการอื่นอีกว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความเพียร.
               บทว่า กงฺขา ได้แก่ ตัณหา.
               ด้วยบทว่า อภินนฺทนา นี้ แม้ตัณหา ท่านก็เรียกว่า อภินันทนา.
               บทว่า อเนกธาตูสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายมีสภาวะมากมาย.
               บทว่า ปุถู ได้แก่ ตัณหาหรือกิเลสที่เหลือมีประการต่างๆ.
               บทว่า สทา สิตา ได้แก่ อยู่ในอำนาจตลอดกาลเป็นนิตย์.
               บทว่า อญาณมูลปฺปภวา ได้แก่ ตัณหาเป็นธรรมชาติมีอวิชชาเป็นมูลราก.
               ด้วยบทว่า ปชปฺปิตา นี้ ก็ตัณหา ท่านเรียกว่าปชัปปิตา โดยเป็นเหตุให้กระซิบว่า แม้นี้เป็นของเรา แม้นี้เป็นของเรา.
               บทว่า สพฺพา มยา พยนฺตีกตา ความว่าตัณหาทั้งหมดอันเราทำให้สิ้นสุดคือหมดที่สุดแล้วด้วยอรหัตมรรค.
               บทว่า สมูลิกา ได้แก่ พร้อมด้วยสิ่งที่มีอวิชชาเป็นมูล.
               บทว่า อนุปโย ได้แก่ ไม่มีตัณหาเข้าไปใกล้.
               ด้วยบทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน นี้ ทรงแสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยบทว่า สมฺโพธิมนุตฺตรํ ตรัสหมายเอาพระอรหัต.
               บทว่า สิวํ ได้แก่ ประเสริฐสุด.
               บทว่า ฌายามิ ความว่า เราย่อมเพ่งด้วยฌาน ๒.
               บทว่า วิสารโท ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด.

               จบอรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พราหมณสังยุตต์ อุปาสกวรรคที่ ๒ กัฏฐหารสูตรที่ ๘ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 705อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 709อ่านอรรถกถา 15 / 713อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=5833&Z=5870
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6542
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6542
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :